Posts tagged ‘การรักษา’

โรคไขมันในตับ

โรค…ไขมันในตับ ก่อให้เกิดการอักเสบ การอักเสบของตับแบบเช็คร่างกายเจอ แบบไม่มีอาการ
และ ไม่รู้ต้องทำอย่างไรดี
โดย น.พ. ระพีพันธุ์  กัลยาวินัย ผู้เชี่ยวชาญแผนกทางเดินอาหาร และ โรคตับ ร.พ. พระรามเก้า
กระแสการรักสุขภาพ  และ  กลัวว่าจะเจอโรคอะไรที่ไม่รู้ตัว หรือ รู้แล้ว ก็รักษาไม่ทัน  นำมาซึ่ง
การเช็คร่างกาย หรือ แม้แต่บางบริษัทรักพนักงานมาก ก็จะให้เช็คเลือดดูตับกันทุกปีเลยทีเดียว
ข้อสงสัยอันดับแรก ๆ  ก็คือเมื่อเช็คแล้วตับอักเสบเป็นอะไร   อันตรายมั้ย  บางคนเรียกว่าตับอัก
เสบเป็นเพื่อน มีมาอยู่นาน และ ไม่รู้ว่ามีอันตรายไหม หรือ จัดการอย่างไร วันนี้เรามาดูกลุ่มที่เช็ค
เลือดแล้วบังเอิญเจอว่า ตับอักเสบกันดีกว่าครับ ผมจะตั้งเป็นลักษณะถามตอบ ตามคำถามที่พบ
บ่อย หรือ โดนถามบ่อยดังนี้นะครับ

1. พบตับอักเสบโดยบังเอิญ เกิดจากอะไร, ผมไปเช็คร่างกายมาพบเอ็นไซม์ขึ้น แพทย์บอกว่ามี
ตับอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร ทำอย่างไรดี ?
ตอบ การที่มีเอ็นไซม์ตับสูงขึ้น (SGPT, SGOT) กรณีไม่มีสาเหตุอื่น เกือบทุกคนเกิดจากตับอัก
เสบครับ และอย่างที่ทราบมาก่อนว่าตับอักเสบมักยังไม่มีอาการใด ๆ ให้เรารู้ตัวมาก่อนในระยะ
แรก เมื่อมีอาการก็มักเป็นมากแล้วครับ ประมาณว่าเมื่อตับอักเสบเสียหายไปแล้ว เกินครึ่งจึงจะ
เริ่มมีอาการครับ เกิดตับเราเสียไปแล้ว 49 % ก็เลยยังไม่รู้ตัว ต้องให้เช็คเลือดเจอ แล้ว หมอมา
บอก ก็ไม่เชื่ออีกว่าไม่เป็นไร รอไปนิด เกิดเสียไปครึ่งแล้ว จึงมีภาวะ การทรุดตัว หรือ พบโรคตับ
โดยไม่รู้ตัวกันมากครับ
– พบว่าตับอักเสบส่วนใหญ่มักเป็นแค่ชั่วคราวไม่ต้องตกใจไปครับ สาเหตุที่ตับอักเสบชั่วคราวได้
แก่ เหล้า การกินยาที่มีผลต่อตับ ติดเชื้อเช่นกลุ่มไวรัส ไข้เลือดออก ไข้รากสาด ก็ตับอักเสบได้
ครับ กรณีพบตับอักเสบครั้งแรกอย่าเพิ่งตกใจครับ ให้ตรวจติดตามไปอีกครั้งหนึ่ง  ถ้ายังอักเสบ
ต่อเนื่องควรหาสาเหตุเพิ่มเติมครับ
– ส่วนคนที่หายอักเสบในครั้งที่ 2 ก็อย่าเพิ่งสบายใจ 100 % เพราะมีสาเหตุตับอักเสบบางอย่าง
ที่มีลักษณะหลอกว่าเราหายอักเสบไปพักหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้วการอักเสบเป็น ๆ หาย ๆ ได้แก่
1.1 การอักเสบจากไวรัสซี และไวรัสบีบางอย่าง (กลุ่ม precore mutant และ core promo-
tor) ถ้าเรามีความเสี่ยงต่อการติดต่อไวรัสซี หรือไวรัสบี เช่น เคยใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้นเลือด
เคยรับเลือด เกร็ดเลือด หรือน้ำเหลืองมาก่อน เคยสักยันต์ เคยโดนเข็มไม่สะอาดเตรียมใส่ตุ้มหู
หรือ แลกการใช้ตุ้มหูกับคนอื่น ปัญหาเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยง ประวัติครอบครัวเป็นโรคตับไม่
ว่าจะมะเร็ง ตับแข็ง หรือ ตับอักเสบ ก็ควรเช็คไวรัสตับอักเสบเพิ่มเติมไปเลยจะดีกว่าครับ (ตรวจ
เลือดที่เรียกว่า HBsAg, Anti HBc, Anti HCV)
1.2 โดนวางยาพิษ ดื่มเหล้า กินยา สมุนไพร อาหารบางอย่างเช่น แกงขี้เหล็กที่ทำไม่สุก ให้ทบ
ทวนดูนะครับ กรณีกินยา แม้กินมานาน ก็อาจมีตับอักเสบได้ครับ ให้นำยาดังกล่าวปรึกษาแพทย์
2. ไปเช็คร่างกายมาพบว่ามีค่าเอ็นไซม์ตับ  SGOT และ SGPT  สูงกว่าปกติ   แพทย์บอกว่ามีการ
อักเสบของตับ แต่ไม่มีไวรัสตับอักเสบทั้งไวรัส บี และ ไวรัสซี เป็นโรคอะไร ต้นเหตุคืออะไร ควร
ตรวจอะไรเพิ่มเติมครับ ?
ตอบ ในปัจจุบันพบว่ามีการตรวจเช็คสุขภาพประจำปี    เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย   รวมทั้งบาง
บริษัทเองก็เป็นห่วงสุขภาพของพนักงานจัดตรวจให้ฟรีเลยก็มี ในการตรวจมักมีการตรวจในส่วน
การทำงานของตับร่วมด้วย เมื่อพบว่ามีค่า SGOT และ SGPT สูงกว่าปกติ เป็นการบ่งบอกว่าคุณมี
ตับอักเสบครับ ถ้าแยกโรคหลัก ๆ ในเมืองไทยออกไป ดังนี้
2.1 แยกภาวะตับอักเสบจากไวรัสบี และ ซีออกก่อนนะครับ กลุ่มนี้จะเป็นมะเร็งตับแทรกซ้อนง่าย
กว่าด้วย
2.2 ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ สารกลุ่มที่มีแอลกอฮอล์
2.3 กินยาที่ทำให้ตับอักเสบ ยาบำรุงบางอย่างทานแล้วเกิดการแพ้แบบตับอักเสบก็มีครับ
2.4 กินอาหารที่มีพิษต่อตับ เช่น เห็ดบางอย่าง แกงขี้เหล็ก ถูกวางยาพิษ ยาเสน่ห์ ก็พบผู้ป่วยตับ
อักเสบจากสาเหตุนี้ โดยไม่รู้ตัวก็พบได้เรื่อย ๆ ครับ
2.5 ไวรัสตับอักเสบฉับพลัน หรือ เรื้อรัง เช่นไวรัส เอ บี ซี ดี อี เอช
2.6 นิ่ว หรือ ฝีในตับ
2.7 มีการติดเชื้อที่มีตับอักเสบชั่วคราว หรือ เรื้อรัง ร่วมด้วย เช่น วัณโรค โรคเอดส์
2.8 พบว่าหลังแยกสาเหตุด้านบนออกไปหมดจากการซักประวัติ และ ตรวจเลือดเพิ่มง่าย ๆ แล้ว
ที่เหลือในคนไทยแทบไม่มีโรคอื่นอีกเลย เพราะโรคแปลก ๆ ไม่ค่อยพบในคนไทย ได้แก่
2.8.1 โรคที่มีเหล็ก ทองแดงในตับ, น้ำย่อยในตับผิดปกติ
2.8.2 ภูมิต้านทานต่อตับตัวเอง พบน้อยมาก
2.8.3 กลุ่มอักเสบไม่หายไปเองจึงมีโอกาสเป็น “โรคตับอักเสบจากไขมัน” โรคนี้มากที่สุด
3. เกิดจากอะไร พบโรคนี้ได้บ่อยมากไหม
ตอบ พบว่า มีคนกลุ่มหนึ่งที่มีการกระจายหรือมีการสะสมไขมันมาที่ตับมากกว่าคนอื่น และ ใน
คนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่ง ก่อให้เกิดการระคายเคืองอักเสบเรื้อรัง (ขณะที่บางคนมีแต่ไขมันไม่มีการอัก
เสบใด ๆ เลย)  ถ้าปล่อยให้อักเสบไปนาน ๆ  คนที่มีโรคนี้  อาจทำให้เกิดตับแข็งหรือมะเร็งตับได้
ด้วย พบว่าโรคนี้อาจพบเป็นสาเหตุได้บ่อยถึง 60 % ของตับอักเสบเลยถ้าเราแยกโรคที่พบบ่อย
คือตับอักเสบจากสุรา และยาออกไปแล้ว
ประมาณว่าพบโรคนี้ได้บ่อยมาก คือพบได้ร้อยละ 1-4 ของประชากรโลกเลย ยิ่งถ้าอ้วน หรือ
อ้วนเร็วก็พบเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นตามครับ การศึกษาคนอ้วนจนต้องพิจารณาผ่าตัดรักษามีอักเสบ
จากโรคนี้ถึง 26 % ครับ และ พบในชิ้นเนื้อตับในการศึกษาในประชากรประเทศอเมริกาถึง 7-9
%, มักพบในคนวัยกลางคน แต่อาจพบได้ในเด็ก (มักในเด็กอายุมากกว่า 10 ปี) และพบในเพศ
หญิงมากกว่าชาย   (ในเมืองไทยยังไม่มีการศึกษาดูอุบัติการของโรคนี้อย่างจริงจังนัก   ยังไม่
ทราบตัวเลขที่แน่นอน)

4. สาเหตุ และทางแก้ไขสาเหตุโรคนี้ที่อะไรบ้างครับ
ตอบ
หลังแยกสาเหตุการอักเสบทุกอย่างในตับไปแล้ว การพบไขมันในตับแล้วเกิดการอักเสบ
ร่วมด้วย ควรแยกกลุ่มที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบซี เหล้า และ ภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wil
son’s Disease) ออกไปก่อน แม้ 2 กลุ่มนี้จะมีไขมันในตับเหมือนกัน แต่การรักษาและการแนะ
นำต่างกันมากส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดไขมันสะสมในตับอื่น ๆ คือ ภาวะอ้วน ไขมัน
ในเลือดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) (พบในคลอเรสเตอรอลสูง
ด้วย), เบาหวาน และอาจพบในรายที่อดอาหารมาเป็นเวลานาน หรือ ได้รับอาหาร หรือ น้ำตาล
ทางเลือดเป็นเวลานาน   รวมทั้งยาบางอย่าง   (amiodarone, tamoxifen,  perhexilene
maleate, glucocorticoids, ฮอร์โมนเช่น synthetic estrogens และ ยาฆ่าแมลง) ก็ทำ
ให้เกิดไขมันสะสมในตับได้ อย่างไรก็ตามพบว่า เกือบประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มีไขมันสะ
สมในตับจะไม่มีปัจจัยเสี่ยงดัง กล่าวข้างต้น
แพทย์บางท่านอาจอธิบายผู้ป่วยเบาหวาน ถึงรายละเอียดคำว่า มีแนวโน้มที่จะมีภาวะที่ร่างกาย
ดื้อต่ออินซูลิน ( Insulin Resistant Syndrome) ซึ่งก็คือผู้ป่วยที่มักจะมีอาการโดยรวมต่อ
ไปนี้ คือ
1. อ้วน
2. เป็นเบาหวาน
3. มีไขมันในเลือดสูง
4. มีความดันโลหิตสูง
จะพบได้มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่มีไขมันสะสมคั่งในตับเลยทีเดียว
5. จะมีอาการอย่างไรบ้าง
ตอบ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไร แต่ในบางรายอาจจะมีอาการปวดแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา
และอาจมีอาการเพลียไม่ค่อยมีแรงทำงานโดยเฉพาะในรายที่มีตับแข็งร่วมด้วยแล้ว ผู้ป่วยอาจมี
ตับโตจนคลำได้แต่มักจะไม่โตมากนัก  ในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของตับร่วมด้วยจะมีค่า   SGOT
และ SGPT สูงขึ้นเล็กน้อยจนถึงปานกลาง (ประมาณ 60-120 IU\L)
6. โรคนี้อันตรายไหม
ตอบ เนื่องจากเดิมเราไม่มีความรู้กันด้านโรคตับอักเสบจากไขมันกันครับ เรียกว่าหมอรุ่นก่อน ๆ
ไม่ได้เรียนรู้หรือสอนกันด้านโรคนี้ หรือ ไม่รู้จักโรคนี้กันเลยก็มากครับ ปัจจุบันในช่วง 5 ปีหลังนี้
พอเราศึกษามากขึ้นเราก็มารู้ทีหลัง   ว่าน่าตกใจเพราะเกิดโรคตับแทรกซ้อนได้ครับ  โดยทั่วไป
แล้วส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีไขมันสะสมในตับ จะมีการดำเนินโรคที่ช้ามาก ตับของผู้ป่วยมักจะยัง
คงทำงานปกติได้ดีอยู่    ไม่ค่อยมีการดำเนินกลายไปเป็นตับแข็ง   แม้อักเสบเป็นเวลาหลายปี
อย่างไรก็ตามจะมีผู้ป่วยบางรายที่ตับจะมีการอักเสบ มีการทำลายเซลล์ตับไปอย่างต่อเนื่อง ทำ
ให้เกิดผังพืดขึ้นในตับ จนท้ายที่สุดเป็นตับแข็งได้ ถ้าให้ขู่ก็ต้องบอกละครับว่าส่วนใหญ่ดำเนิน
โรคแบบไวรัสตับอักเสบบีเลยที เดียว คือ ตับแข็ง และ มะเร็งครับ
– ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ตับอักเสบดำเนินไปจนเกิดโรคตับ คือ
1. อายุมากว่า 40 ปี
2. มีเบาหวาน
3. มีไขมันในเลือดสูง
4. พบว่ามีผังพืดในตับจากการเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ และ
5. ในผู้ป่วยที่มีค่า SGOT สูงกว่า SGPT ในเลือด ก็อาจจะเป็นตัวช่วยบ่งชี้ว่า มีผังพืดในตับเยอะ
พอสมควร หรือมีตับแข็งแล้ว
– การดำเนินโรคเป็นดังนี้
การอักเสบดีขึ้นเองราว 3 % ยังคงที่อยู่ 54 % และแย่ลง 43 % สรุปคือมีมากกว่าครึ่งที่ตับอักเสบ
อย่างนั้นแต่ไม่ได้แย่ลง แต่มีบางคนแย่ลงจนเกิดภาวะตับแข็งได้ด้วย พบว่าใน 7 ปี เกิดตับแข็ง
ประมาณ 8 – 26 %
– ความเสี่ยงในการเกิดตับแข็งจะมากขึ้นถ้า เป็นเบาหวานเพศหญิง ในคนอายุมาก
– ผู้ป่วยตับแข็งจะมีอาการ เลือดออกในหลอดอาหาร ขาบวม ท้องโตขึ้น สับสน หรือ ตัวตาเหลือง
ได้ บางรายอาจต้องถึงกับต้องพิจารณาเปลี่ยนตับ หรือ เกิดมะเร็งแทรกซ้อนได้ด้วย และอาจมีโอ

กาสเสียชีวิตจากโรคตับได้ถึงร้อยละ 9 ในเวลา 10 ปี
– แต่ถ้าเอาให้ง่ายเข้า เมื่อรักษาได้ ทำไมต้องเสี่ยงจริงไหมครับ รักษากันดีกว่าครับ

7. ภาวะไขมันสะสมคั่งในตับ ในกรณีเช็คร่างกายพบ แต่ไม่มีการอักเสบ มีอันตรายหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องกลัวนะครับ ถ้าพบแต่ไขมันแต่ไม่อักเสบคือมีค่า SGPT ปกติ ถือเป็นคนปกติไม่มีอัน
ตรายใด ๆ
สรุปคือภาวะไขมันสะสมคั่งในตับอาจแบ่งได้เป็น  4   ชนิดโดยแบ่งตามพยาธิสภาพของชิ้น
เนื้อตับดังนี้
1. ชนิดที่มีแต่ไขมันสะสมคั่งในเซลล์ตับอย่างเดียว โดยการตรวจพบในอัลตร้าซาวน์หรือคอม
พิวเตอร์ แต่ไม่มีการอักเสบของตับร่วมด้วย โดยดูจากเลขค่าการอักเสบตับ ที่เรียกว่าค่า SGPT
ปกติดี ภาวะนี้เรียกว่า ไขมันในตับ ไม่เกิดการอักเสบ
2. ชนิดที่มีไขมันสะสมคั่งในเซลล์ตับ ร่วมกับมีการอักเสบของตับเล็กน้อย
ทั้ง 2 ชนิดแรกมักจะปกติ โอกาสเกิดปัญหาภายหลัง นับเป็น สิบ ๆ ปี ก็มักไม่เป็นไร ไม่มีอันตราย
ใด ๆ สรุปคือพบไขมันในตับจากอัลตร้าซาวน์อย่างเดียวแต่ไม่มีการอักเสบใด ๆ โดยดูจากผล
เลือด SGPT ปกติ ก็ไม่ต้องทำอะไร แต่กรณีที่เป็นแบบ
3. ชนิดที่มีไขมันสะสมคั่งในเซลล์ตับ และมีการบวมโตอักเสบของเซลล์ตับร่วมด้วย
4. ชนิดสุดท้าย จะเป็นแบบชนิดที่ 3 แต่นานไป เกิดมีการตายของกลุ่มเซลล์ตับ และอาจเริ่มมีพัง
ผืดในตับ หรือเริ่มตับแข็งร่วมด้วยแล้ว
ในชนิดที่ 3 และ 4 นั้น จะมีการอักเสบค่า SGPT หรืออาจเริ่มตรวจร่างกายพบโรคตับโดย
แพทย์ จะมีการดำเนินโรคจนเกิดตับแข็งหรือมะเร็งได้ ซึ่งต้องรักษาครับ ตามที่แนะนำในคำถาม
ข้อ 6 และ 7 นั่นเองครับ
8. จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้
ตอบ การวินิจฉัยไขมันสะสมในตับทำได้โดย พบตับอักเสบ ร่วมกับ
ตรวจเลือดดูปัจจัยเสี่ยง เช่น น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด (ซึ่งบางคนไม่มีปัจจัยเสี่ยง) ร่วมกับ
ตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่าไม่มีสาเหตุอื่นที่พบได้บ่อยเช่น ไวรัสตับอักเสบบี, ซี, โรคทองแดงในตับ
หรือ ต้องยืนยันว่าไม่ดื่มเหล้า ยา, สมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น   คือแยกโรคตับอักเสบอื่น ๆ   ออกไป
ก่อน ถ้าสงสัยว่าเป็นไขมันสะสมในตับ การตรวจอัลตราซาวด์ (หรืออาจตรวจด้วยคอมพิวเตอร์
หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดูตับก็วินิจฉัยได้ แต่ราคาแพงกว่า) ดูตับก็สามารถช่วยบ่งบอกได้ในบาง
รายแต่ไม่ทุกรายบางคนการตรวจเหล่านี้เป็น   ปกติก็เป็นโรคนี้ได้และในกรณีที่มีข้อบ่งชี้   (ควร
ลองรักษาก่อนพักหนึ่ง ถ้าไม่ดีขึ้นอาจต้องพิจารณาเจาะตับร่วมด้วย) การเจาะเอาเนื้อตับมาตรวจ
ก็สามารถยืนยันภาวะไขมันสะสมในตับว่าไม่ใช่โรคอื่น และยังสามารถประเมินความรุนแรงของ
โรคได้ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการพยากรณ์การดำเนินโรคด้วย สุดท้าย บางคนอาจลองรักษาภาวะ
ตับอักเสบจากไขมันดู ถ้าได้ผลอาจไม่จำเป็นต้องไปเจาะตับครับ

9. จะรักษาได้อย่างไร
ตอบ หลักการในการรักษาไขมันสะสมในตับที่สำคัญคือ
– การควบคุมอาหารและลดน้ำหนัก    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนอ้วนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน  ซึ่ง
การควบคุมอาหารนั้น ไม่ใช่ควบคุมเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงแต่จำเป็นต้องควบคุมอาหารที่มีแป้ง
และน้ำตาลสูงร่วมด้วย เพราะการรับประทานแป้งและน้ำตาลมากเกินไปจะมีผลทำให้ไขมันสะสม
อยู่ในตับเพิ่มมากขึ้น (ไขมันไตรกรีเซอร์ไรด์ สร้างจากแป้งและน้ำตาลได้ด้วย ซึ่งเป็นไขมันที่คั่ง
ในตับคือ โรคนี้เป็นไขมันชนิดนี้ เป็นส่วนใหญ่)
– อาหารกลุ่มไขมันที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ไขมัน เนื้อติดมัน คอหมู เครื่องใน หนัง ไข่แดง หอย
ปลาหมึก กุ้งตัวใหญ่ หัวกุ้ง น้ำมันหอย น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ข้าวผัด ผัดขี้เมา กะทิ
เครื่องแกง แกงเขียวหวาน เนย ครีม ไอศกรีม เค๊ก ช๊อคโคแลต
– นอกจากนี้ควรหมั่นออกกำลังกาย  เพื่อช่วยลดน้ำหนัก  ซึ่งการออกกำลังกายภายนอกจากจะมี
ผลดีต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว ยังช่วยละลายไขมันออกจากตับ อย่างไรก็ตามข้อควรระวังในการ
ลดน้ำหนัก คือ ไม่ควรลดลงเร็วเกินไป เกินกว่า 2 ก.ก./เดือน (คือประมาณ 15 %) และไม่ควรลด
น้ำหนักด้วยการลดอาหาร การลดน้ำหนักลงเร็วเกินไป เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะตับอักเสบรุน
แรง และอาจเกิดตับวายได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีไขมันในเลือดสูงก็ควรจะรักษาควบคุมระดับไขมันให้
อยู่ในเกณฑ์ปกติ  เช่นเดียวกันกับผู้ป่วยโรคเบาหวานก็ควร   ควบคุมรักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ใน
เกณฑ์ปกติ ส่วนยาที่ใช้รักษาไขมันสะสมในตับ ส่วนใหญ่ยังอยู่ใน
ขั้นตอนของการศึกษา
ในปัจจุบันยาที่จัดว่ามีข้อมูลการศึกษาพอควร คือ
1. ยา กระตุ้นให้ insulin ทำงานดีขึ้น (Insulin sensitizing agent) ได้แก่ยา เบาหวานกลุ่ม
Metformin, และยากลุ่ม  Thiazolidinediones (ผลทั้งกระตุ้นระบบ insulin PPAR และลด
การอักเสบผ่านสารที่เรียกว่า cytokine)ได้แก่ troglitazone, pioglitazone, rosiglitazone
2. ยาลดไขมัน พบว่าได้ผล ไม่แน่นอน บางคนก็ดีขึ้น บางคนก็ลดเฉพาะไขมัน ตับยังอักเสบ แต่
ส่วนใหญ่เมื่อดูผลชิ้นเนื้อด้วย ยังไม่สามารถลดการอักเสบในชิ้นเนื้อตับได้ชัดเจนนักครับ
3. Ursodeoxycholic Acid UDCA ซึ่งเป็นเกลือของกรดน้ำดี ซึ่งมีข้อมูลบ่งว่า UDCA อาจ
ช่วยลดการอักเสบของตับและทำให้การทำงานของตับดีขึ้น ขนาดที่ใช้ในการรักษาคือ 12-15
มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งต้องรับประทานระยะยาว เป็นเวลาประมาณ1 ปี
4. วิตามินอี ซึ่งจัดเป็น anti-oxidative stress อันเป็นกลไกที่สำคัญของการเกิดตับอักเสบ
และการตายของเซลล์ตับ ก็เป็นยาอีกตัวหนึ่ง ซึ่งมีการศึกษาบ่งชี้ว่า อาจจะมีประโยชน์ในการรัก
ษาตับอักเสบจากไขมันสะสมในตับ โดยเป็นการศึกษาในเด็ก แต่รับประทานในขนาดสูงมากคือ
800-1,600 มิลลิกรัมต่อวัน
5. Silymarin เป็นยาที่สกัดมาจากดอก Milk Thrisld (จาก สก็อตแลนด์) มีฤทธิ์เป็น anti-
oxidative stress เช่นกัน และอาจช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินลงได้ โดยควรใช้ขนาดสูงเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีการศึกษายาตัวใหม่ๆ อีกหลายตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม anti-oxidative
stress ซึ่งคงมียาใหม่ ๆ ที่ได้ผลในอนาคตมากกว่านี้
6. ในรายที่ตับแข็ง หรือ ตับวายต้องรักษาตับแข็ง ร่วมด้วย และพิจารณาเปลี่ยนตับด้วย ให้อ่าน
เพิ่มในหัวข้อตับแข็ง และ การเปลี่ยนตับครับ
7. เริ่มมีข้อมูลที่ใช้สารป้องกัน และ รักษาอนุมูลอิสระเพิ่ม สารต้านการทำลายตัวเอง (Anti-
oxidant)
8. ยา Probucol ดูแล้ว นอกจากลดไขมันได้ดีแล้ว ยานี้สามารถลดอนุมูลอิสระได้ด้วย พบว่าได้
ผลทั้งลดไขมันและ ลดตับอักเสบจากภาวะนี้ได้ดีครับ คงต้องรอการศึกษายืนยันมากขึ้นครับ ดู
แล้วน่าสนใจดีครับ
สรุปแล้วภาวะตับอักเสบแบบไม่มีอาการ (หรือบางคนปล่อยไปจนตับแข็งไปแล้ว) อย่าปล่อยไว้
เมื่อเรารักษาได้  และ  ไม่ต้องเสี่ยงจากโรคตับเพิ่มขึ้น  จะปลอดภัยกว่าครับ  ปรึกษากับแพทย์
ประจำตัวคุณดูครับ

ข้อมูลจากบทความสุขภาพ โรงพยาบาลพระรามเก้า

วันจันทร์ 2 กุมภาพันธ์ 2009 at 10:22 am ใส่ความเห็น

การรักษาโรคเมลิออยโดสิส

โรคเมลิออยโดสิส นับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยเนื่องจากพบมีอัตราป่วยตายสูง โดย เฉพาะ
ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตซึ่งมีอัตราป่วยตายประมาณร้อยละ 60 และมักพบอาการรุนแรงถึง
เสียชีวิตในคนที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ทั้งนี้มักมีการกลับซ้ำของโรคเมลิออย
โดสิสในกรณีให้การรักษาระยะสั้น และผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง

เมลิออยโดสิสเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียรูปแท่งแกรมลบ  Burkholderia  pseu-
domallei (B. pseudomallei) เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตและปอดอัก
เสบในประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย แม้
ว่าได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้อย่างกว้างขวางมานานกว่า 20 ปี แต่ผลการรักษาก็ยังไม่ดี
เท่าที่ควร อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ป่วยได้รับ
การรักษาล่าช้าหรือไม่ถูกต้อง อัตราการเสียชีวิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสูง
ถึงร้อยละา 50-60 ส่วนในประเทศออสเตรเลีย พบว่าอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 15-20

หลักการรักษา

  1. การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม ถือเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคเมลิออย
    โดสิส
  2. การรักษาตามอาการ
  3. การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
  4. พิจารณาเจาะดูดหรือผ่าตัดเพื่อระบายฝีหนอง รวมทั้งการตัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อและกลาย
    เป็นเนื้อตายออกไป

ยาปฏิชีวนะ

  1. ยาปฏิชีวนะถือเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อ
    แบคทีเรียที่รักษายากที่สุดโรคหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีอาการรุนแรง พบหลัก
    ฐานการติดเชื้อในกระแสเลือด ควรรับไว้ในโรงพยาบาล และเริ่มให้การรักษาด้วยยาปฏิ
    ชีวนะชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำก่อนเสมอ โดยทั่วไปจะให้ยาอย่างน้อย 10-14 วัน หรือ
    จนกว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 วัน จึงเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรับ
    ประทานต่อ จนครบระยะเวลาการรักษาอย่างน้อย 20-24 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการกลับ
    เป็นซ้ำ
  2. รูปแบบการรักษาผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสจึงอาจแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการ
    รักษาในระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง จากนั้นจึงเป็นการรักษาในระยะที่สอง ถือ
    เป็นการรักษาต่อเนื่องจากระยะแรก จุดหมายสำคัญเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
  3. สำหรับผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสที่อาการไม่รุนแรง สามารถเริ่มการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
    ชนิดรับประทานได้เลย

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

  • ระยะเฉียบพลัน
  • ระยะต่อเนื่อง

ยาปฏิชีวนะในระยะเฉียบพลัน

  • Ceftazidime
  • Amoxicillin-Clavulanic acid
  • Cefoperazone-Sulbactam
  • Imipenem
  • Meropenem

Ceftazidime

  1. ถือเป็นยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส ชื่อยา original คือ Fortum
    (GSK) ชื่อการค้าอื่นๆของยานี้ ได้แก่ Forzid, Fortaz, Cef-4 เป็นต้น
  2. ขนาดของยาที่ใช้ในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส 100-120 มก/กก/วัน หรือ 6 กรัม
    /วัน ในผู้ใหญ่
  3. อาจให้ยา co-trimoxazole ในขนาด 8 มก/กก/วัน ของ trimethoprim ร่วมด้วย
    โดยแบ่งให้ยาทั้งสองชนิดทางหลอดเลือดดำทุก 8 ชั่วโมง สามารถลดอัตราตายในผู้ป่วย
    เมลิออยโดสิสที่มีอาการรุนแรงลงได้ครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับการรักษาผู้ป่วยโดยใช้ยาสูตร co-trimoxazole + doxycycline + chloramphenicol
  4. จาก การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการใช้ยา ceftazidime เพียงชนิดเดียว
    และการใช้ยา ceftazidime ร่วมกับ co-trimoxazole ในการรักษาผู้ป่วยเมลิออยโดสิส
    ที่มีอาการรุนแรง พบว่าอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลไม่แตกต่างกัน
  5. ceftazidime เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม  third-generation   cephalosporin   ซึ่งครอบ
    คลุมเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกและชนิดแกรมลบ รวมทั้งเชื้อ เชื้อ B. pseudomallei
    ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเมลิออยโดสิส   ความแตกต่างจากยาอื่นในกลุ่มเดียวกันตรงที่ยานี้
    สามารถใช้ฆ่าเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ได้ ซึ่งเชื้อดังกล่าวเป็นแบคทีเรียก่อโรค
    ที่รุนแรงและมีปัญหาในการรักษาค่อน  ข้างมาก  แต่ข้อจำกัดของยา  ceftazidime อยู่ที่
    ฤทธิ์ต่อเชื้อแกรมบวกค่อนข้างอ่อนกว่ายาชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกัน

Amoxicillin-Clavulanic acid (co-amoxiclav)

  1. ควรพิจารณาใช้เป็นยาตัวเลือกในการรักษาผู้ป่วย เนื่องจากต้องใช้ยาในขนาดที่สูงกว่า
    ขนาดยาที่ใช้ตามปกติ และต้องบริหารยาบ่อย
  2. ผู้ ป่วยร้อยละ 20 ที่ได้รับการรักษาด้วยยา co-amoxiclav จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยา
    ceftazidime ในการรักษาแทน เนื่องจากการตอบสนองต่อยา co-amoxiclav ไม่ดีหลัง
    จากให้การรักษาไปแล้วนานกว่า 72 ชั่วโมง
  3. พบการดื้อยาของเชื้อ B. pseudomallei เกิดขึ้นระหว่างการรักษาในช่วง 8-10 วันแรก
    ถึงร้อยละ 7
  4. ขนาด ยาที่ใช้ในการรักษา 160 มก/กก/วัน ในผู้ใหญ่ให้ยาในขนาด 2.4 กรัม ฉีดเข้าทาง
    หลอดเลือดดำในครั้งแรก   และตามด้วยขนาด  1.2 กรัม   ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
    ทุก 4 ชั่วโมง
  5. อัตรา เสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสที่ได้รับการรักษาด้วยยา co-
    amoxiclav ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา ceftazidime

Cefoperazone-Sulbactam

  1. ขนาดยาที่ใช้ในการรักษา   โรคเมลิออยโดสิส  cefoperazone  25 มก/กก/วัน  หรือ
    3 กรัม/วันในผู้ใหญ่ อัตราส่วนของยา cefoperazone-sulbactam ที่ใช้คือ 1:1 โดยให้
    ร่วมกับยา co-trimoxazole ในขนาด 8 มก/กก/วัน ของยา trimethoprim โดยแบ่ง
    ให้ยาทั้งสองชนิดทางหลอดเลือดดำทุก 8 ชั่วโมง
  2. จาก การศึกษาพบว่าประสิทธิภาพในการรักษาด้วยยา cefoperazone-sulbactam ร่วม
    กับยา   co-trimoxazole   ไม่แตกต่างจากการใช้ยา    ceftazidime  ร่วมกับยา co-
    trimoxazole
  3. ไม่ควรใช้สูตรยานี้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสที่มีการติดเชื้อในระบบประสาท
    เนื่องจากยา cefoperazone ผ่านเข้าน้ำไขสันหลังได้ไม่ดี และต้องระวังภาวะเลือดออก
    ผิดปกติ   ดังที่เคยมีรายงานว่าผู้ป่วยบางรายเกิดความผิดปกติของกลไกการแข็งตัวของ
    เลือดซึ่งสามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยการให้วิตามินเค

lmipenem

  1. ชื่อการค้า Tienam ขนาดยาที่ใช้ในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส 50 มก/กก/วัน หรือ 3
    กรัม/วันในผู้ใหญ่ โดยแบ่งให้ยาทางหลอดเลือดดำทุก 8 ชั่วโมง
  2. จาก การศึกษาวิจัยพบว่า อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา imipenem
    ไม่แตกต่างจากการรักษาด้วยยา ceftazidime แต่พบอัตราการรักษาล้มเหลวมากกว่าใน
    ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา ceftazidime
  3. ปัญหา สำคัญคือยานี้มีราคาแพง จึงควรพิจารณาใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
    ด้วยยา ceftazidime หรือมีข้อห้ามในการใช้ยา ceftazidime

Meropenem

  1. ชื่อการค้า Meronem ขนาดยาที่ใช้ในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส 75 มก/กก/วัน หรือ
    3 กรัม/วันในผู้ใหญ่ โดยแบ่งให้ยาทางหลอดเลือดดำทุก 8 ชั่วโมง
  2. จาก การศึกษาพบว่า อัตราเสียชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยเมลิออยโดสิสที่มีอาการรุนแรงเมื่อ
    ได้รับการ รักษาด้วยยา meropenem ร่วมกับยา co-trimoxazole ไม่แตกต่างจากการ
    รักษาด้วยยา ceftazidime ร่วมกับ co-trimoxazole แต่ในผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสที่มี
    ภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด เมื่อได้รับการรักษาด้วยยา meropenem ร่วมกับยา
    co-trimoxazole   จะมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา   cefta-
    zidime ร่วมกับยา co-trimoxazole

ยาปฏิชีวนะในระยะต่อเนื่อง

  • Cotrimoxazole + Doxycycline
  • Coamoxiclav
  • Ciprofloxacin + Azithromycin

Cotrimoxazole + Doxycycline
ขนาดของยา co-trimoxazole ที่ใช้ในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส 8-10 มก/กก/วัน ของยา
trimethoprim ร่วมกับยา doxycycline ในขนาด 4 มก/กก/วัน สูตรยานี้จัดเป็นสูตรยามาตร
ฐานในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส เนื่องจากอัตราการกลับเป็นซ้ำต่ำสุดเมื่อเทียบกับสูตรยาอื่นๆ
นอกจากนี้ยังพบว่าในผู้ป่วยที่ได้รับยานาน 20 สัปดาห์ จะมีอัตรากลับเป็นซ้ำเพียงร้อยละ 4

Coamoxiclav

  1. ขนาดของยาที่ใช้ในการ   รักษาโรคเมลิออยโดสิส   amoxicillin  60 มก/กก/วัน และ
    clavulanic acid 15 มก/กก/วัน เพื่อให้ได้สัดส่วนของยา amoxicillin ต่อ claulanic
    acid เป็น 4:1 โดยแบ่งให้ยาวันละ 4 ครั้ง
  2. ยา สูตรนี้ควรใช้เป็นยาทางเลือกในหญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร เด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปี และ
    ผู้ที่แพ้ยากลุ่ม sulphonamides เนื่องจากอัตราการกลับเป็นซ้ำสูงกว่าการรักษาด้วยยา co-trimoxazole ร่วมกับ doxycycline
  3. ใน ผู้ป่วยที่ได้รับยา co-amoxiclav น้อยกว่า 12 สัปดาห์ มีอัตราการกลับเป็นซ้ำร้อยละ
    36 ถ้าได้รับยานานกว่า 12 สัปดาห์ จะมีโอกาสเกิดการกลับเป็นซ้ำลดลงเหลือร้อยละ 10

Ciprofloxacin + Azithromycin

  1. ขนาดของยาที่ใช้ในการ รักษาโรคเมลิออยโดสิส ciprofloxacin 500 มก. รับประทาน
    วันละ 2 ครั้ง ร่วมกับยา azithromycin ขนาด 500 มก. รับประทานวันละ 1 ครั้ง
  2. จาก การศึกษาพบว่าเมื่อให้การรักษาโรคเมลิออยโดสิสด้วยยาสูตรนี้ นาน 12 สัปดาห์ จะ
    พบอัตราการกลับเป็นซ้ำถึงร้อยละ  22  ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับการใช้ยา  co-trimoxa-
    zole ร่วมกับ doxycycline
  3. นอกจากนี้ยายังมีราคาแพงมาก จึงควรพิจารณาใช้ยาสูตรนี้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้
    ยา 2 สูตรแรก

ผลการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

การรักษาโรคเมลิออยโดสิสด้วยยาปฏิชีวนะให้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ ทั้งๆ ที่เชื้อไวต่อยาในหลอด
ทดลอง การทดสอบความไวของเชื้อต่อยาในหลอดทดลองไม่ว่าจะเป็นการทดสอบด้วยวิธีเชิง
ปริมาณหรือเชิงคุณภาพ ไม่สอดคล้องกับผลการรักษาเสมอไป ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่มีผลต่อการ
รักษา เช่น จำนวนของเชื้อรอยโรค B. pseudomallei การที่ยาออกฤทธิ์เป็นเพียงยับยั้งการเจริญ
เติบโตของเชื้อ B. pseudomallei แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อให้ตาย เป็นต้น

นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสชนิดติดเชื้อในกระแสเลือด มีอัตราเสียชีวิตสูงมากนั้น
เกิดจากปัจจัยพยากรณ์โรคหลายอย่าง   จากการวิเคราะห์พบว่าภาวะหลายอย่างเป็นปัจจัยพยา-
กรณ์โรค  และปัจจัยเหล่านี้บางอย่างสามารถป้องกันได้   และจะทำให้การรักษาโรคได้ผลดีขึ้น
อัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยลดต่ำลง การแก้ปัญหาเรื่องโรคเมลิออยโดสิสนั้น ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับ
แล้วว่าการรักษาโรคไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด จำเป็นต้องพิจารณาถึงวิธีอื่นๆ ในการแก้ปัญหาด้วย เช่น การ
ศึกษาถึงลักษณะของเชื้อ ตลอดจนสารชีวภาพที่เชื้อปล่อยออกมา กลไกการก่อโรค การป้องกัน
โรค รวมทั้งการลดอุบัติการณ์และความชุกของโรคด้วยวิธีต่างๆ เป็นต้น

การเจาะดูดหรือผ่าตัดเพื่อระบายฝีหนอง

ในรายที่มีฝีจะต้องมีการผ่าตัดเอาฝีออก   ซึ่งจะให้ผลดีกว่าการใช้เข็มเจาะ   หรือดูดเอาแต่หนอง
ออก การทำผ่าตัดควรทำเมื่อตรวจไม่พบเชื้อในกระแสโลหิตแล้ว

ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

วันศุกร์ 9 มกราคม 2009 at 9:42 am 1 ความเห็น

โรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล

โรค กระเพาะอาหารมีได้หลายโรคเช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร  และโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล เป็นต้น อาการของโรคกระ
เพาะอาหารหรือภาษาอังกฤษเรียกว่าดีสเป็ปเซีย (Dyspepsia) หมายถึงความรู้สึกไม่สบายที่
เกิดขึ้นบริเวณช่องท้องส่วนบน (ระหว่างใต้ลิ้นปี่และสะดือ)  เช่นปวดท้อง, ท้องอืดแน่นท้องหลัง
รับประทานอาหาร, คลื่นไส้, มีลมโครกคราก, อิ่มเร็ว หรือจุกเสียดยอดอก    ผู้ป่วยดีสเป็บเซียเมื่อ
ได้รับการสืบค้นโดยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร  พบว่าส่วนน้อยที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น
โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น, โรคหลอดอาหารอักเสบ หรือโรคมะเร็งกระ
เพาะอาหาร  อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยอีกส่วนใหญ่ประมาณ 60-90% จะไม่สามารถบอกสาเหตุที่
ชัดเจนได้  กล่าวคือพบว่ากระเพาะอาหารปกติหรือมีอักเสบเล็กน้อย ไม่มีแผล ไม่มีมะเร็ง เรียก
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล (Functional dyspepsia)

ใน ประเทศไทยความชุกของโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล ไม่แตกต่างจากข้อมูลในต่าง
ประเทศ   จากการศึกษาของผู้เขียนโดยสำรวจในผู้ป่วยดีสเป็ปเซีย 1,100 คนพบว่าเป็น โรค
กระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผลสูงถึง 90.69% และในผู้ป่วยกลุ่มนี้ 49.72% ตรวจพบเชื้อแบค
ทีเรียชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์  ไพโลไร  (Helicobacter pylori ) ร่วมด้วย

สาเหตุ

โรค กระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่มีสาเหตุหลัก 2 ประการคือ 1)
ความไวของประสาทการรับรู้ความรู้สึกของกระเพาะอาหารและลำไส้มากผิดปกติ  โดยเฉพาะ
ต่อกรดหรืออาหารมัน ทำให้เกิดอาการแน่นหรือปวดท้อง  2) กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อน
ไหวผิดปกติ เช่นการขยายตัวของกระเพาะอาหารลดลง หรือมีการเคลื่อนไหวของกระเพาะ
อาหารและลำไส้ลดลง  มีการศึกษาพบว่ามีการหลั่งสารซึ่งเป็นสื่อนำของระบบประสาทที่อยู่
ในผนัง กระเพาะอาหารและลำไส้ผิดปกติเช่นโดปามีน (dopamine) หรือ อะเซ็ทติลโฆลีน
(acethylcholine) นำไปสู่การเคลื่อนไหวหรือการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ผิด
ปกติ รวมทั้งทำให้ความไวของประสาทการรับรู้ความรู้สึกของกระเพาะอาหารและลำไส้มาก
ผิดปกติด้วย  ปัจจัยอื่นที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น พันธุกรรม ปัจจัยทางจิตใจและความเครียด  หรือ
อาจเกิดตามหลังการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์  ไพโลไร  หรือการติดเชื้ออื่นๆในระบบทางเดิน
อาหาร  อย่างไรก็ตามสาเหตุบางอย่างอาจทำให้เกิดอาการเฉพาะในผู้ป่วยบางราย   ขณะที่
ผู้ป่วยรายอื่น ๆ อาจไม่ทำให้เกิดอาการก็เป็นได้

อาการสำคัญของโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล

โดย ทั่วไปอาการของโรคกระเพาะชนิดไม่มีแผล  ไม่สามารถแยกได้จากอาการของโรคแผลใน
กระเพาะอาหาร อาหารที่สำคัญได้แก่ ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือหน้าท้องช่วงบน
เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว อาการจะไม่เป็นตลอดทั้งวัน, อาการ
ปวดหรือแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด ผู้ป่วยบางคนอาการปวดจะเป็นมาก
ขึ้นหลังอาหารโดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น, อาการปวดหรือแน่นท้อง มักเป็นๆ
หายๆ มานานเป็นปี, บางรายจะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้องหรือรู้สึกไม่สบายใน
ท้อง มักจะเป็นบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือกลางท้องรอบสะดือ มักมีท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังกิน
อาหารท้องจะอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโครกคราก ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น อาจ
มีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยโดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อหรือช่วงเช้ามืด ผู้ป่วยอาจมีอาการอิ่ม
ง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อยลงและน้ำหนักลดลงบ้างเล็กน้อย, โรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มี
แผลนี้จะแบ่งตามลักษณะอาการได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาการคล้ายโรคแผลในกระเพาะ
อาหาร จะมีอาการปวดท้องเป็นอาการเด่นและกลุ่มอาการที่คล้ายโรคกระเพาะอาหารและลำ
ไส้เคลื่อนไหวผิดปกติ จะมีอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือมีลมโครกครากเป็นอาการเด่น  แม้จะมี
อาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม ไม่มีน้ำหนักลด ไม่ซีดลง

การรักษา

เนื่อง จากมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล ในปัจจุบันจึงยังไม่มี
ยาที่เฉพาะในการรักษาภาวะนี้   อย่างไรก็ตาม  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับการรักษาด้วยยาลดกรด
ถึงแม้ปริมาณการสร้างกรดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้น   แต่ร่างกายอาจมีความไวต่อกรดมาก
กว่าในคนทั่วไป การให้ยาลดกรดจึงอาจได้ผลดีในการรักษา  เร็วๆนี้มียาตัวใหม่ที่ออกฤทธิ์โดย
ตรงเกี่ยวกับการหลั่งสารซึ่งเป็นสื่อนำ ของระบบประสาทที่อยู่ในผนังกระเพาะอาหารและลำไส้
เช่นโดปามีน (dopamine) หรือ อะเซ็ทติลโฆลีน (acethylcholine) โดยช่วยปรับหรือเพิ่มการ
เคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารเพื่อช่วยให้ไม่มี อาหารและน้ำย่อยค้างอยู่ในทางเดินอาหาร
ส่วนต้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือมีลมโครก
ครากเป็นอาการเด่น เนื่องจากอาการของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล มักเป็นๆหายๆ
การรักษาโดยทั่วไปควรให้ยาผู้ป่วยนาน 1-3 เดือนจึงจะบอกได้ว่าอาการดีขึ้นจริง ผู้ป่วยบางราย
อาจต้องให้ยาติดต่อกันนานหลายเดือนหรือเป็นปี ในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาดัง
กล่าวอาจพิจารณาใช้ยากำจัดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์  ไพโลไร ซึ่งผู้ป่วยบางคนจะมีอาการดีขึ้น
(ได้ผล 1 ใน 14 ราย) หรือใช้ยาในกลุ่มลดการอักเสบของเยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร (mucosal
protectants) หรือยาคลายเครียดร่วมด้วย   ตลอดจนการปรับวิธีการรับประทานอาหารและแนว
ทางการดำเนินชีวิตเพื่อทำให้ผู้ ป่วยมีอาการดีขึ้น

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว

กิน อาหารอ่อน ย่อยง่าย, กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่บ่อย และไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ,
หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง น้ำอัดลม และเครื่องดื่มไม่ควรร้อนจัดหรือเย็นจัดเกิน
ไป, งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา, งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาแก้ปวดข้อหรือกล้ามเนื้ออัก
เสบทุกชนิด, ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ, ถ้ามีอาการของภาวะ
แทรกซ้อน ปวดท้องรุนแรง เบื่ออาหารหรือน้ำหนักลดลงมาก ควรรีบไปพบแพทย์

ผู้ ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้างและควร
รับประทานอาหารวันละกี่มื้อแต่ละมื้อ ควรจะมีปริมาณมากน้อยเท่าใด

อาหาร ที่ควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารรสเผ็ดจัด, เปรี้ยวจัด, ของหมักดอง, อาหารแข็งย่อยยาก,
อาหารประเภทที่ต้องทอด หรืออาหารที่มีไขมันมาก เพราะไขมันเป็นสารที่ย่อยยากกว่าสารอา
หารชนิดอื่นรวมทั้งอาหารหรือผลไม้ที่ กินแล้วทำให้มีอาการมากขึ้น เช่นบางคนกินฝรั่งหรือสับ
ปะรดจะปวดท้องมากขึ้น เป็นต้น ควรรับประทานอาหารอ่อน   อาหารที่ย่อยง่าย  เมื่อผู้ป่วยมีอา
การดีขึ้นแล้วจึงค่อยๆ   กลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติได้

โดย ทั่วไปควรรับประทานวันละ 6 มื้อ โดยแบ่งปริมาณมาจากมื้ออาหารปกติครึ่งหนึ่ง คือมื้อเช้า
แบ่งเป็นเช้าและสาย, มื้อกลางวันแบ่งเป็นกลางวันและบ่าย และมื้อเย็นแบ่งเป็นเย็นและค่ำ รวม
เป็น 6 มื้อ จะเห็นได้ว่าแต่ละมื้อจะมีปริมาณอาหารน้อยลงแต่รับประทานให้บ่อยขึ้น ห้ามรับประ
ทานจนอิ่มหรือปริมาณมากเกินไปจะทำให้กระเพาะอาหารขยายตัวมากจะ ยิ่งกระตุ้นให้ปวดมาก
ขึ้น ไม่ควรรับประทานอาหารผิดเวลาหรือเว้นท้องว่างนานจนเกินไปจะทำให้ปวดท้องมาก ขึ้น
เช่นกัน

โรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล จะกลายเป็นมะเร็งได้หรือไม่

โรค กระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผลจะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็นๆหายๆอยู่นานกี่ปีก็ตาม เนื่อง
จากพยาธิกำเนิดของโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารและโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่ มีแผลจะ
แตกต่างกัน ถ้าเป็นโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารจะเริ่มด้วยมะเร็งตั้งแต่เริ่มแรก แต่พึงระวังไว้
ด้วยว่าโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอาจมาเกิดร่วมกับโรคกระเพาะ อาหารชนิดไม่มีแผลก็ได้ โดย
เฉพาะในคนสูงอายุ (อายุมากกว่า 45-50 ปี จะมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากขึ้น) เนื่องจากอาการ
เริ่มแรกของโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและโรคกระเพาะอาหารชนิด ไม่มีแผลจะคล้ายกันมาก
ไม่สามารถแยกจากกันได้โดยการซักประวัติหรือตรวจร่างกาย จึงจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้อง
ตรวจกระเพาะอาหารเพื่อช่วยในการวินิจฉัย สำหรับอาการที่ส่อหรือบ่งชี้ว่าอาจมีโรคมะเร็งกระ
เพาะอาหารได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ซีดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ่ายอุจจาระดำหรืออา
เจียนเป็นเลือด อาเจียนมากและเป็นติดต่อกันเป็นวัน ในคนสูงอายุหรืออายุมากกว่า 45-50 ปีที่
เริ่มมีอาการครั้งแรกหรือผู้ที่มีอาการมานานแล้วมีการเปลี่ยนแปลงของ อาการเช่นปวดท้องรุน
แรงขึ้น ในภาวะต่างๆเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์

โรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผลจะหายขาดหรือไม่

โรค กระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผลเป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆหายๆแต่จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนเช่นมีเลือด
ออก ไม่กลายเป็นมะเร็ง และมีการพยากรณ์โรคดี ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้ป่วยโรคกระ
เพาะอาหารชนิดไม่มีแผล 86% ยังคงมีอาการต่อเนื่อง 12-20 เดือนแม้ได้รับการรักษาที่เหมาะ
สม    เช่นเดียวกับการศึกษาในประเทศอังกฤษซึ่งพบว่า ผู้ป่วย 74% ยังคงมีอาการหลังให้การรัก
ษา 2 ปี   อีกทั้งยังพบว่าผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผลมีแนวโน้มคุณภาพชีวิตที่ ต่ำลง
ผู้ป่วยบางรายอาจต้องกินยาติดต่อกันนานเป็นปีเพื่อควบคุมไม่ให้มีอาการ สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยควร
ปฏิบัติไปตลอดคือการปรับวิธีการรับประทานอาหารและแนว ทางการดำเนินชีวิตเพื่อช่วยให้อา
การดีขึ้น   แม้ไม่หายขาดแต่จะช่วยลดความทุกข์ทรมาน  และมีโอกาสกลับเป็นซ้ำลดลงได้
อย่าง มาก

ข้อมูลจากบทความหมอสุรพงศ์ โรงพยาบาลพยาไท

วันศุกร์ 5 ธันวาคม 2008 at 9:09 am ใส่ความเห็น

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หรือมะเร็งมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งอวัยวะสืบ
พันธุ์สตรีไทย ผู้คนชอบนำไปสับสนกับมะเร็งปากมดลูก ที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 โรคนี้ถ้ามาพบ
แพทย์ตั้งแต่แรกเริ่มมีอาการมักรักษาได้หายค่อนข้างสูง ดังนั้นมาทำความรู้จักโรคนี้กันดีกว่าค่ะ

มดลูกคืออะไร?

มดลูกเป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายชมพู่คว่ำอยู่เชื่อต่อด้านบนขอช่องคลอด เป็นที่ให้ทารกฝังตัว
และเจริญเติบโต เยื่อบุโพรงมดลูก คือ ผิงด้านในของมดลูกซึ่งในวัยเจริญพันธุ์ จะหนาตัวขึ้นทุก
เดือนเพื่อรับการฝังตัวของ ตัวอ่อน (ทารก) หากเดือนใดไม่มีการตั้งครรภ์เยื่อบุโพรงมดลูกจะ
สลายตัว ออกมาเป็นประจำเดือน (ระดู)

ส่วนปากมดลูกคือส่วนล่างสุดของมดลูกที่เชื่อมต่อกับช่องคลอด ปีกมดลูกก็คือ รังไข่และท่อนำ
ไข่ ที่อยู่ 2 ข้างเชื่อมต่อกับโพรงมดลูก

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกพบบ่อยแค่ไหน?

ในประเทศไทย พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี โดยพบประมาณ 3 คน/
แสนราย/ปี ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา หรือยุโรป พบบ่อยเป็นอันดับ 1

ประเทศไทยในฐานะประเทศกำลังพัฒนา ที่เริ่มมีลักษณะความเป็นอยู่คล้ายคลึงประเทศแถบ
ตะวันตกมากขึ้นทุกที จึงพบการเกิดมะเร็งชนิดนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก?

มะเร็งชนิดนี้เติบโตได้โดยการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน ดังนั้นภาวะใดก็
ตามที่ทำให้มีฮอร์โมนเหล่านี้มากผิดปกติก็จะทำให้เสี่ยงต่อ การเป็นมะเร็งชนิดนี้ด้วย ได้แก่

  1. การได้รับฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีได้ 2 กรณีด้วยกัน
    1.1 ฮอร์โมนวัยทอง ฮอร์โมน วัยทองมีหลายชนิดและหลายส่วนประกอบ บางชนิด
    (เอสโตรเจนอย่างเดียวไม่มีโปรเจสโตเจน) สามารถกระตุ้นโรคนี้ได้มาก บางชนิด
    (เอสโตรเจนที่มีโปรเจสโตเจนร่วมด้วย) ก็ไม่ทำให้เป็นโรคนี้ ดังนั้นผู้ที่รับประทานฮอร์
    โมนวัยทองควรปรึกษาแพทย์ก่อน และอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์
    1.2 สมุนไพร ยา สมุนไพรบางชนิดมีเอสโตรเจนปริมาณสูง เช่น กวาวเครือ และอีก
    หลายชนิดมีเอสโตรเจนแฝงอยู่โดยไม่รู้ การรับประทานสมุนไพรบางตัวจึงอาจทำให้
    เลือดระดูออกผิดปกติหรือเสี่ยงต่อการ เกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้
  2. ความอ้วนในชั้นไขมันของคนเราเป็นที่สะสมของเอสโตรเจน ดังนั้นยิ่งอ้วนมากยิ่งมีความ
    เสี่ยงเป็นโรคนี้มากขึ้น
  3. ยารักษามะเร็งเต้านม ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัด บางรายแพทย์แนะนำให้รับประ
    ทานยาป้องกันการกลับเป็นซ้ำ (ทามอกซิเฟน) ซึ่งยานี้มีลักษณะคล้ายฮอร์โมนเอสโตร
    เจนจึงกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกผิด ปกติได้ จึงสมควรได้รับการตรวจติดตามอย่าง
    ใกล้ชิด
  4. ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เมื่อเป็นมากๆ อาจมีสิว
    ผิวมัน ขนดกร่วมด้วยกลุ่มนี้มีเอสโตรเจนสูงเช่นกัน
  5. โรคเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมมีโอกาสกลาย
    เป็นมะเร็งได้

นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีก ได้แก่

  1. เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
  2. ประวัติพันธุกรรม ญาติสายตรง เป็นมะเร็งสำไส้ใหญ่

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อย่าเพิ่งตกใจนะคะ เพราะการมีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็น
มะเร็งแต่จะได้เฝ้าระวัง ดูแลและรีบมาพบแพทย์เมื่อมีอาการ

ป้องกันได้ไหม?

พบว่าการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ นอกจากนั้น
ยังช่วยกันการเกิดมะเร็งรังไข่ด้วย

มีอาการอย่างไร?

โชคดีมาที่โรคนี้มักเริ่มแสดงอาการแต่เนิ่นๆ นั่นคือ มีเลือดออกทางช่องคลอด เนื่องจากมะเร็ง
ชนิดนี้มักเกิดหลังอายุ 50 ปี ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนที่มีเลือดออกหลังหมดประจำเดือนไปแล้วควร
รีบมาพบแพทย์

ผู้ที่ยังไม่ถึงวัยทอง แต่ถ้ามีอาการเลือดออกผิดปกติที่ไม่ใช่รอบเดือน เช่น ออกกระปริดกระ
ปรอย หรือออกมามากและนานกว่าปกติ คือเกิน 7 วันต่อรอบ ก็ควรมาพบแพทย์เช่นกัน โดย
เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงข้างต้น อย่าลืมว่ายิ่งพบแต่ระยะแรกโอกาสหายยิ่งสูง มีอาการ
ผิดปกติอย่านิ่งนอนใจนะคะ ส่วนกรณีที่โรคเป็นมากแล้ว อาจมีอาการของมดลูกโตขึ้น ปวดท้อง
น้อย คลำได้ก้อนในท้องน้อย มดลูกไปกดกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อยหรือกดทวารหนัก
ทำให้อุจจาระลำบากได้ค่ะ

วินิจฉัยอย่างไร

การวินิจฉัยที่แน่นอนได้จากการนำเยื่อบุโพรงมดลูกไปตรวจทางพยาธิวิทยา (ส่องกล้องย้อม
เซลล์ดู) ซึ่งมักต้องขูดมดลูกให้ได้เนื้อเยื่อไปตรวจ

ในผู้ทีเคยมีบุตรแล้ว การขูดมดลูกทำได้โดยฉีดยาชา ส่วนผู้ที่ยังโสด หรือไม่เคยมีบุตรแพทย์มัก
วางยาสลบให้ไม่เจ็บ สามารถกลับบ้านได้หลังขูดมดลูก

ฟังแล้วอย่าเพิ่งกลัวนะคะ เมื่อมีอาการผิดปกติ คุณหมอตรวจแล้วจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป หากดู
แล้วไม่ค่อยเหมือนมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ก็คงไม่ต้องขูดมดลูกค่ะ

รักษาอย่างไร?

ทำได้โดยการผ่าตัด ซึ่งได้แก่ การตัดเอามดลูก ปากมดลูก ปีกมดลูก (รังไข่และท่อนำไข่) ออก
ร่วมกับการล้างน้ำในช่องท้องและสุ่มตัดต่อมน้ำเหลืองไปตรวจ

การผ่าตัดจะช่วยทำให้ทราบว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใดของโรค หากพบว่าเป็นระยะแรก กล่าวคือ มี
มะเร็งอยู่เฉพาะที่เยื่อบุโพรงมดลูก ยังมีการลุกลามเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูกไม่มาก ไม่มีการ
กระจายของโรคไปอวัยวะอื่น การผ่าตัดที่กล่าวมาก็เพียงพอในการรักษา ไม่จำเป็นต้องได้รับ
การรักษาอย่างอื่นเพิ่มเติมผลการรักษาดีมาก

หากพบว่าเริ่มมีการลุกลามของมะเร็งลึกขึ้น หรือกระจายไปในอวัยวะข้างเคียง หลังผ่าตัดจำเป็น
ต้องได้รับรังสีรักษา (ฉายแสง) ร่วมด้วย โดยรังสีแพทย์จะพิจารณาฉายแสดงภายนอกหรือใส่
แร่ที่ช่องคลอด หรือทั้งสองวิธี แล้วแต่กรณี

ในกลุ่มที่มีการกระจายของโรคไปไกลๆ เช่น ช่องท้องด้านบน ตับ ปอด อาจต้องให้เคมีบำบัด
ร่วมด้วย ซึ่งผลการรักษาไม่ดี

สรุป

โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมีข้อดีคือ มักมีอาการเตือนแต่แรกเริ่ม กล่าวคือมีเลือดออกผิดปกติ
ทางช่องคลอด ดังนั้นการพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการผิดปกติจะช่วยให้รักษาได้แต่เนิ่นๆ โดย
ผ่าตัดเพียงอย่างเดียว โอกาสหายสูง

ข้อมูลจากบทความสาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ โรงพยาบาลรามาธิบดี

วันจันทร์ 1 ธันวาคม 2008 at 8:00 am ใส่ความเห็น

ภาวะการมีบุตรยาก

ความหมายของภาวะมีบุตรยากคืออะไร?
คือการที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หลังจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่าง
น้อย 1 ปี โดยไม่ได้คุมกำเนิด

สาเหตุเกิดจากอะไร?
พบว่าเกิดได้ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย โดย

  • 40-50% มาจากฝ่ายหญิง
  • 30-40% มาจากฝ่ายชาย
  • 5-10% มาจากทั้งสองฝ่ายร่วมกัน

ดังนั้นการตรวจหาสาเหตุและการรักษาจึงต้องทำทั้งสามีและภรรยา

การรักษาภาวะมีบุตรยากทำได้อย่างไร?
การรักษาจะแตกต่างกันไปในแต่ละคู่สมรส ขึ้นกับสาเหตุหรือความผิดปกติที่ตรวจพบ โดยมีแนว
ทางการรักษาดังนี้

  • มีความผิดปกติของท่อนำไข่
    รักษาโดย การผ่าตัดแก้ไข ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
  • รังไข่ทำงานผิดปกติ
    รักษาโดย การชักนำให้ไข่ตก ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
  • โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
    รักษาโดย การผ่าตัด การรักษาด้วยฮอร์โมน ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
  • ความผิดปกติของอสุจิ
    รักษาโดย การให้คำแนะนำ ยาบำรุง ฮอร์โมน การฉีดเชื้ออสุจิ ใช้เทคโนโลยีช่วยการ
    เจริญพันธุ์
  • ไม่ทราบสาเหตุ
    รักษาโดย การให้คำแนะนำ การฉีดเชื้ออสุจิ ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ การกระตุ้น
    ไข่ ทำได้โดยให้ยารับประทาน หรือยาฉีด

การฉีดเชื้ออสุจิ ( Intrauterine Insemination : IUI )
โดยการฉีดเชื้ออสุจิที่ผ่านการเตรียมทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้ได้ตัวอสุจิที่แข็งแรง แล้วฉีดเข้าใน
โพรงมดลูกในวันที่ไข่ตก

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ( Assisted Reproductive Technology : ART )
เป็น กระบวนการที่มีการเก็บไข่ออกจากรังไข่เพื่อใช้ในการปฏิสนธิ ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนา
เทคโนโลยีต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ประกอบ
ด้วย : การปฏิสนธินอกร่างกาย หรือ

  • การทำเด็กหลอดแก้ว ( In Vitro Fertilization : IVF )
    คือการเก็บเอาไข่ออกมาปฏิสนธิกับอสุจิในห้องปฏิบัติการจนได้ตัวอ่อน แล้วจึงย้ายกลับ
    เข้าสู่โพรงมดลูกทางช่องคลอด
  • การทำเด็กหลอดแก้ว ( In Vitro Fertilization : IVF )
    คือการเก็บเอาไข่ออกมาปฏิสนธิกับอสุจิในห้องปฏิบัติการจนได้ตัวอ่อน แล้วจึงย้ายกลับ
    เข้าสู่โพรงมดลูกทางช่องคลอด
  • กิฟท์ ( Gamete Intrafallopian Tranfer : GIFT ) คือการเก็บเอาไข่ออกมาผสมกับ
    อสุจิแล้วใส่กลับเข้าไปไว้ที่ท่อนำไข่
  • อิ๊กซี่ ( Intracytoplastic Sperm Injection : ICSI ) คือวิธีการช่วยปฏิสนธิโดยการ
    ฉีดอสุจิที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงตัวเดียวเข้าไปในไข่โดยตรง
  • เทเซ่ ( Testicular Sperm Extraction : TESE ) คือวิธีการตัดชิ้นเนื้อจากบริเวณ
    อัณฑะ เพื่อให้ได้มาซึ่งอสุจิ
  • Blastocyst culture คือการเลี้ยงตัวอ่อนในห้องทดลองจนถึงระยะบลาสโตซีสท์
    ซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 วัน แล้วจึงย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกทางช่องคลอด

อัตราการตั้งครรภ์จากการรักษาภาวะมีบุตรยากมากน้อยเพียงใด?
ขึ้น อยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของฝ่ายหญิง สาเหตุของการมีบุตร โดยเฉลี่ยอัตราการตั้ง
ครรภ์จากการรักษาโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ประมาณ 30 – 40 %

ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาภาวะมีบุตรยากมีอะไรบ้าง?

  • กลุ่มอาการที่รังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป ( Ovarian Hyperstimulation
    Syndrome)
  • การตั้งครรภ์แฝด

ข้อมูลจากบทความข่าวเด่น โรงพยาบาลสมิติเวช

วันพุธ 19 พฤศจิกายน 2008 at 8:00 am ใส่ความเห็น

โรคปวดประสาทหน้า

อะไร คือ โรคปวดประสาทหน้า
คือ อาการปวดที่ใบหน้า หรือ กระหม่อม ตามแนว ของเส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า ซึ่งทำหน้าที่รับ
ความรู้สึกสัมผัส, อุณหภูมิ และความรู้สึกเจ็บปวด ส่งไปยังก้านสมอง และสมองใหญ่ตามลำดับ
อาการปวดจะมีลักษณะพิเศษ คือ ปวดเสียวแปล๊บๆ คล้ายถูกไฟช็อตเป็นพักๆ และมักจะปวดมาก
ขึ้น เวลาเคี้ยว พูด หรือสัมผัสเบาๆ เช่น การล้างหน้า

เส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า มีแขนงย่อย 3 เส้น ได้แก่

  • แขนงที่หนึ่ง เลี้ยงบริเวณตา หน้าผาก และกระหม่อม (Opthalmic branch- V1)
  • แขนงที่สอง เลี้ยงบริเวณแก้ม และขากรรไกรส่วนบน (Maxillary branch-V2)
  • แขนงที่สาม เลี้ยงที่ขากรรไกรล่าง (Mandibular branch-V3)

มักพบอาการปวดได้บ่อยจากแขนงที่สอง คือ ปวดแปล๊บๆ ตามโหนกแก้ม ขากรรไกรบน รวมถึง
เสียวเหงือกและฟัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะถูกวินิจฉัยครั้งแรก จากทันตแพทย์ !!

ทำไมถึงปวด สาเหตุเกิดจากอะไร
การศึกษาปัจจุบันพบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการกดทับของหลอดเลือดเล็กๆ ซึ่งมีการหย่อนยาน
ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ใกล้กับทางออกของ เส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า ทำให้เส้นประสาทเกิดการนำ
กระแสประสาทที่มากขึ้น
คล้ายกับไฟฟ้าลัดวงจรนั่นเอง ทำให้โรคปวดประสาทหน้า (trigeminal neuralgia) พบได้บ่อย
ในผู้สูงอายุ ถ้าพบในอายุน้อย หรือมีอาการทางระบบประสาทอื่นร่วมด้วย เช่น หน้าชา ปากเบี้ยว
หูไม่ได้ยิน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหาสาเหตุเพิ่มเติมโดยการเอกซ์เรย์สมอง เช่น ปลอกประสาท
เสื่อม (Multiple sclerosis), เนื้องอก เป็นต้น
ทำไมบางครั้งก็หายเองได้ บางครั้งก็ปวดขึ้นมาใหม่
ลักษณะของการดำเนินโรคจะเป็นอย่างที่กล่าวมา คือ ปวดติดต่อกันเป็นเดือนหรือปีได้ แล้วไม่มี
อาการเป็นปี จากนั้นเริ่มปวดใหม่ หรือ ปวดต่อเนื่องกันไปตลอด ปัจจัยที่กระตุ้นให้ปวดมากขึ้น
ได้แก่ การอดนอน ความเครียด เป็นต้น

การรักษาต้องทำอย่างไร
มีแนวทางหลักในการรักษาได้แก่
1. การรักษาทางยา : ยาส่วนใหญ่จะเป็นยาในกลุ่มยากันชัก เช่น

  • Carbamazepine (Tregretal), Trileptal (Oxycarbazepine), Phenytoin
    (Dilantin), Baclophen (Lioresal)และ Gabapentin(Neurontin)
  • ยาออกฤทธิ์โดยการลดกระแสไฟฟ้าที่ผิดปรกติดังกล่าว
  • ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ มีง่วงซึม เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน และเกลือแร่ผิดปรกติ

2. การรักษาโดยการผ่าตัด

  • Stereotactic Radiosurgery (Gamma Knife)
  • มีการวางกรอบที่ศีรษะผู้ป่วย โดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วยให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น
    จากนั้นใช้รังสียิงไปในจุดที่กำหนดไว้
  • ข้อดี คือ ไม่ต้องผ่าตัด ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้น เพียง 1-2 วัน
  • ข้อเสีย คือ อาการปวดประสาทหน้าใช้เวลานานเป็นเดือน กว่าจะเห็นผลของการฉายรังสี
  • Microvascular Decompression Surgery
  • ทำโดยประสาทศัลยแพทย์ จุดประสงค์ คือ การแก้ไขให้เส้นประสาทไม่ถูกกดทับจาก
    หลอดเลือด โดยผ่าตัดเข้าทางบริเวณหลังใบหู แล้วเลาะไปถึงจุดที่เส้นประสาทออกจาก
    ก้านสมอง(root entry zone) เพื่อยกหลอดเลือด หรือ เลาะเอาพังผืดใกล้เคียงออก
  • ข้อดี คือ อาการปวดจะดีขึ้นโดยทันทีหลังผ่าตัด 90-95% สามารถหยุดยาแก้ปวดได้
  • ข้อเสีย คือ เสี่ยงกับการดมยาสลบ การผ่าตัด และการบาดเจ็บของเส้นประสาท เช่น
    หน้าชา หน้าเบี้ยว หรือ หูได้ยินลดลง

ข้อมูลจากบทความสุขภาพ วารสารเก้าทันโรค โรงพยาบาลพระรามเก้า

วันพุธ 5 พฤศจิกายน 2008 at 8:00 am ใส่ความเห็น

โรคแพนิค

ใจเต้นแรง หายใจไม่ออก เหงื่อแตก กลัวตาย ฉันเป็นโรคอะไรเนี่ย???

อาการดังกล่าวข้างต้นเป็นได้หลายโรคครับ ทั้งโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคต่อมธัยรอยด์ทำงาน
ผิดปกติ หรือเกิดจากได้รับสารบางชนิดมากเกินไป เช่นดื่มกาแฟ เกิน 2 แก้วต่อวัน ดื่มเครื่องดื่ม
บำรุงกำลังเกินวันละ 2 ขวด หรือสาเหตุอื่นๆอีกมากมาย แต่โรคที่จะอธิบายต่อไปนี้ เป็นโรคที่มี
อาการดังกล่าวข้างต้น และอาจมีมากกว่านั้นอีก เช่น อาการแน่นหน้าอก ใจสั่น กลัว เวียนศีรษะ
จุกแน่นท้อง มือเท้าเย็นชารู้สึกเหมือนจะควบคุมตัวเองไม่ได้ เหมือนตัวเองกำลังจะตายหรือจะเป็น
บ้า โดยอาการดังกล่าว เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใน 10 นาที โดยไม่สามารถรู้ตัวได้ว่าจะเกิด
อาการ ไม่มีอะไรมากระตุ้นแล้วจึงเกิดอาการ แต่จู่จู่ก็เป็นขึ้นมาทันที และหลังจากตรวจอย่างละ-
เอียดแล้ว ไม่พบความผิดปกติใดใดในร่างกาย โรคที่ว่านี้ชื่อว่า Panic disorderหรือ โรคแพนิค
ครับ บางคนอาจจะเรียกว่าโรคตื่นตระหนกก็ได้ครับ ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่ชัดเจน หรือที่หลายคน
อาจจะเคยได้ยินว่าหมอบอกว่าเป็นโรคหัวใจอ่อน โรคสารทลงหัวใจ ฯลฯ หมอพบโรคนี้ได้บ่อย
แต่รู้สึกว่าผู้ป่วยและญาติยังขาดความรู้ความเข้าใจโรคนี้อย่างมาก

ทำความเข้าใจกับโรคแพนิค
อีกไม่กี่ปีข้างหน้า โรคแพนิคคงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปและเข้าใจกันอย่างดี ถึงสาเหตุและการรักษา
หลังจากมีเครื่องตรวจการทำงานของสมองที่ละเอียดและทันสมัย แต่ ณ วันนี้น้อยคนนักที่จะรู้จัก
โรคแพนิค และน้อยกว่านั้นที่จะเข้าใจโรคแพนิคอย่างถูกต้อง ยาขนานแรกที่หมอจะให้สำหรับคน
ไข้โรคนี้คือ คุณรู้หรือไม่ว่าคุณเป็นอะไร เกิดจากสาเหตุใด และจะต้องรักษาและปฏิบัติตัวอย่าง
ไร ถ้ายาขนานแรกได้ผล ก็เรียกว่ารักษาหายไปกว่าครึ่งแล้ว

คนเป็นโรคแพนิคมากน้อยแค่ไหน
จากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา พบถึงร้อยละ 1.5 ถึง 5 นั่นหมายถึงถ้าคุณรู้จักคน 100
คน มีโอกาสที่คนที่คุณรู้จักจะเป็นโรคนี้ได้ถึง 1-5 คนเลยทีเดียว โรคแพนิคพบในผู้หญิงมากกว่า
ผู้ชาย 2-3 เท่า โดยมักเริ่มเป็นครั้งแรกในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มเป็นอยู่ที่ 25 ปี

อาการแพนิคเกิดจากอะไร
มีการศึกษาวิจัยมากมาย พยายามจะอธิบายอาการของโรคแพนิค ว่าเกิดจากสาเหตุใด ขออธิบาย
เพื่อความเข้าใจง่ายๆนะครับ จริงๆแล้วเวลาคนเราตกใจ ร่างกายก็จะมีการตอบสนองต่อเหตุการณ์
ที่ทำให้ตกใจ ผ่านหลายระบบของร่างกาย ที่สำคัญคือระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ใจเต้นแรง
เหงื่อออก หายใจเร็ว เพื่อเตรียมความพร้อมให้ร่างกายสู้กับสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ได้ เพียงแต่ว่าระบบนี้จะทำงาน เมื่อมีสิ่งมากระตุ้นเท่านั้น ถ้าระบบนี้ทำงานเองโดยไม่มีสิ่งใดใด
มากระตุ้นเลย นั่นคืออาการของโรคแพนิคครับ คือระบบประสาทอัตโนมัติทำงานไวเกินไปนั่นเอง

ระบบประสาทอัตโนมัติเกี่ยวกับโรคแพนิคอย่างไร
ขออธิบายง่ายๆอีกเช่นกันครับ ระบบร่างกายอาจแบ่งได้หลายระบบ แต่เพื่อให้เข้าใจง่ายสำหรับ
อธิบายโรคนี้เท่านั้นนะครับ จะขอแบ่งเป็น 2 ระบบ ได้แก่ระบบที่เราสั่งการได้ เช่น เราอยากจะยก
แขน ยกขา ลืมตา อ้าปากเรานึกอย่างไร ร่างกายจะทำตามที่เรานึกทันที ส่วนอีกระบบหนึ่งคือ
ระบบประสาทอัตโนมัติ เราสั่งให้มันทำงานไม่ได้ แต่มันจะทำงานเมื่อสิ่งแวดล้อมภายนอกเปลี่ยน
แปลงไป ระบบนี้จะทำหน้าที่รักษาสมดุลให้ร่างกาย เช่น เราจะสั่งให้หัวใจเราเต้นเร็วขึ้นได้หรือไม่
คำตอบคือไม่ได้ แต่ถ้าผ่านเหตุการณ์ตื่นเต้นมา ทั้งดีและไม่ดี เช่น กำลังจะให้ดอกไม้แฟนครั้ง
แรกในชีวิตต้องพูดต่อหน้าคนนับพัน โดนตำรวจเรียกขณะฝ่าไฟแดง สุนัขตัวใหญ่วิ่งเข้าหา ระบบ
ประสาทอัตโนมัติจะทำงานทันที สั่งให้หัวใจเต้นแรงเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆให้มากขึ้น
เตรียมร่างกายให้พร้อมที่สุด จะสู้หรือจะหนี จะได้รอดจากสถานการณ์ไปได้ อีกตัวอย่างเช่น เรา
จะสั่งให้เหงื่อออกเองไม่ได้ แต่เหงื่อจะออกต่อเมื่อเราไปยืนตากแดด อยู่ในที่อากาศร้อน เม็ด
เหงื่อที่ออกมาจะพาเอาความร้อนในร่างกายออกมาด้วยเพื่อไม่ให้อุณหภูมิ ภายในร่างกายร้อน
เกินไปการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ดี เปรียบเหมือนสัญญาณกันขโมยรถยนต์ จะดัง
ต่อเมื่อมีขโมยจะมางัดแงะรถเท่านั้น ระบบประสาทอัตโนมัติไวเกิน สาเหตุของโรคแพนิคเปรียบ
เหมือนสัญญาณกันขโมยรถยนต์ที่ไวเกิน ลมพัดใบไม้หล่นใส่สัญญาณก็ดัง สุนัขปัสสาวะใส่ล้อ
ก็ดัง น่ารำคาญ ทั้งที่ไม่มีขโมยมางัดแงะใดใดเลย ระบบประสาทอัตโนมัติที่ไวเกินก็เช่นกัน ไม่มี
อะไรผิดปกติเกิดขึ้นเลย แต่ระบบก็ส่งสัญญาณไปยังส่วนต่างๆของร่างกายให้ทำงาน เช่น สั่งให้
ใจเต้นเร็ว สั่งให้หายใจแรง สั่งให้เหงื่อออก เป็นต้น สารเคมีในสมอง เกี่ยวอะไรกับระบบประสาท
อัตโนมัติ ? ระบบประสาทอัตโนมัติจะทำงานได้ ต้องส่งผ่านเส้นประสาท จากสมองไปยังอวัยวะ
ต่างๆเช่นหัวใจ ต่อมเหงื่อ โดยอาศัยสารเคมีเล็กๆเป็นตัวส่งสัญญาณ ถ้าสารเคมีดังกล่าวอยู่ใน
ภาวะปกติ สมดุลดี ก็จะทำให้สัญญาณที่ส่งไปถูกต้อง ไม่ผิดพลาด ไม่ไวเกิน ไม่ช้าเกิน ตรงกัน
ข้ามถ้าสารเคมีดังกล่าวเสียสมดุล ก็จะนำไปสู่การสั่งงานที่ผิดพลาด หลายคนคงเคยได้ยินแพทย์
อธิบายว่าเป็นเพราะสารเคมีในสมองไม่สมดุลก็เป็น สาเหตุให้เกิดโรคแพนิคได้นั่นเอง

ทำไมสารเคมีในสมองถึงไม่สมดุล มีหลายสาเหตุ เช่น

  • กรรมพันธุ์ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย มีพันธุ์เป็นโรคแพนิค ลูกหลานก็มีแนวโน้มจะเป็นได้มาก
    กว่าคนที่ไม่มีกรรมพันธุ์
  • ประสบการณ์ในชีวิต มีงานวิจัยยืนยันว่าคนที่เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิตโดยเฉพาะ
    ในวัยเด็ก มีโอกาสเป็นโรคแพนิคได้มากกว่าคนที่ไม่เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้าย เช่น การ
    ถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก การสูญเสียพ่อแม่ตั้งแต่วัยเด็ก การถูกทำร้ายร่างกาย การถูกล่วง
    ละเมิดทางเพศ เหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการเสียสมดุล
    ของสารเคมีในสมองได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวยังต้องได้รับการศึกษาวิจัยต่อไป
  • การใช้สารเสพติด จะไปทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลไปอย่างตรงไปตรงมา

มีโอกาสเป็นบ้าได้หรือไม่ ไม่ค่อยพบว่าคนที่เป็นโรคแพนิคแล้วกลายเป็นโรคจิตเภทในภาย
หลัง แต่จะพบภาวะอื่นๆตามมา เช่น

  • ภาวะอะโกราโฟเบีย (Agoraphobia) หรือภาวะกลัวที่จะต้องอยู่ในที่ที่ไม่สามารถได้รับ
    ความช่วยเหลือได้เมื่อมี อาการ ทำให้ไม่กล้าอยู่คนเดียว ไม่กล้าไปไหนมาไหนคนเดียว
  • ภาวะซึมเศร้า หลังจากมีอาการและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ตรวจหลายอย่าง หลาย
    โรงพยาบาลก็ไม่พบสาเหตุ โดยที่ผู้ป่วยคิดว่าตัวเองผิดปกติแน่แต่ตรวจไม่พบ จึงเริ่มท้อ
    แท้ เบื่อหน่าย บางรายเป็นหัวหน้าครอบครัว ก็วิตกกังวลว่าจะไม่มีคนช่วยดูแลครอบครัว
    ยิ่งทำให้อาการเป็นหนักเข้าไปอีกบางรายถึงขั้นคิดอยากตาย รวมทั้งจะพาครอบครัวตาย
    ไปด้วยกันหมดก็มี

รักษาได้อย่างไร
แบ่งเป็น 2 อย่างที่สำคัญ คือ การรักษาด้วยยา และการดูแลทางด้านจิตใจ
การรักษาด้วยยา
การรักษาโรคแพนิคด้วยยาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ

1. ยา“พระเอก” หมายถึงยาที่ใช้เป็นหลักในการรักษา ต้องใช้ต่อเนื่องตามระยะเวลาที่แพทย์
กำหนด เมื่อเราทราบแล้วว่าโรคแพนิค สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเสียสมดุลของสารเคมีในสมอง
โดยเฉพาะสารซีโรโทนินจึงได้มีการคิดค้นยาเพื่อปรับสารเคมีดังกล่าวให้เข้า สู่ภาวะสมดุลซึ่งเป็น
กลุ่มยากลุ่มเดียวกับที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ช้า ผู้ป่วยต้องรับประทานยา
อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์จึงจะเริ่มได้ผล ผลที่ได้คือการเกิดอาการแพนิคจะ
ห่างลงเรื่องๆและอาการแพนิคที่เกิดขึ้นก็จะ เบาลงเรื่อยๆทำให้ผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องรับ
ประทานยา “พระรอง” น้อยลงเรื่อยๆจึงเป็นการค่อยๆหยุดยา “พระรอง” ไปในตัว โดยทั่วไปเมื่อ
เริ่มให้ยา “พระเอก” และค่อยๆเพิ่มยาขึ้นแพทย์มักสามารถควบคุมอาการให้หายสนิทได้ในเวลา
ประมาณ 1-2 เดือนเมื่อผู้ป่วยหายสนิทแล้วต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปอีก 8-12 เดือน
แล้วจึงค่อยๆหยุดยา มีผู้ป่วยบางรายที่กลับมีอาการอีกเมื่อลดยาลงถึงระดับหนึ่งในกรณีเช่นนี้ให้
เพิ่มยากลับขึ้นไปในระดับก่อนที่จะมีอาการกลับมาอีก รอไว้ 2-3 เดือนแล้วค่อยๆลดยาลงช้าๆจน
สามารถหยุดยาได้อย่างไรก็ดีควรให้ผู้ป่วยทราบว่า โรคแพนิคเป็นโรคเรื้อรังเมื่อหยุดยาไประยะ
หนึ่งผู้ป่วยอาจกลับมามีอาการอีก ได้ และจะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เลิกรับประทานยาไม่ได้และต้อง
รับประทานยา “ป้องกัน” ในขนาดน้อยๆต่อไปเรื่อยๆซึ่งก็ไม่มีอันตรายอะไร

2. ยา“พระรอง” พระรองในที่นี้หมายถึง ยาที่ช่วยบรรเทาอาการเป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็วสามารถระงับ
อาการแพนิคที่เกิด ขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วยาประเภทนี้คือยาคลายกังวลยาที่นิยมใช้คือ
alprazolam แต่ก็อาจใช้ lorazepam, clonazepam, หรือแม้แต่ diazepam ก็ได้เราจะให้ผู้
ป่วยรับประทานยาเมื่อเกิดอาการแพนิค อาการแพนิคจะหายไปอย่างรวดเร็วแต่เมื่อยาหมดฤทธิ์ผู้
ป่วยอาจเกิดอาการแพนิค ขึ้นมาได้อีกปัญหาที่สำคัญของยาในกลุ่มนี้คือสามารถเกิดการเสพติด
ได้ถ้าใช้ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆนั่นจึงเป็นสาเหตุทำให้ยากลุ่มนี้เป็นได้แค่พระรอง เพราะจะให้ใน
ช่วงสั้นๆเท่านั้น

การดูแลทางด้านจิตใจ
ผู้ที่เป็นโรคแพนิคทุกคน ต้องการความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพราะคนที่ไม่เป็นอย่างเขาจะไม่รู้ว่า
มันทรมานเพียงใด บางคนกลับคิดว่าเป็นการแกล้งทำ ซึ่งยิ่งเป็นการทำร้ายจิตใจผู้ป่วยอย่างมาก
ดังนั้น ทัศนคติของคนรอบข้างทั้งญาติ เพื่อน แม้กระทั่งทีมแพทย์พยาบาลที่ดูแลจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ต้องหนักแน่นในความปลอดภัยของร่างกาย หลังจากการตรวจอย่างละเอียดแล้วไม่พบความผิด
ปกติใด ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อมั่น อาการแพนิคก็จะค่อยทุเลาลงไป
นึกถึงการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการโดยมีการเตรียมการไว้ก่อน เช่น การหายใจเข้าออกลึกๆช้าๆ
การหายใจในถุงกระดาษหากมี hyperventilation เป็นอาการเด่น หรือการกินยาที่แพทย์ให้พก
ติดตัวไว้ การฝึกการผ่อนคลายอื่นๆ เช่น การทำสมาธิ งานอดิเรกต่างๆที่ช่วยให้มีความสุข

ท้ายที่สุดนี้ ขอสรุปว่า โรคแพนิคเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ หากมีความเข้าใจกับโรคแพนิค
อย่างถูกต้อง ย่อมนำไปสู่ผลการรักษาที่ดี และไม่เป็นโรคเรื้อรังอีกต่อไปครับ

ข้อมูลจากบทความสุขภาพ วารสารเก้าทันโรค โรงพยาบาลพระรามเก้า

วันจันทร์ 3 พฤศจิกายน 2008 at 8:00 am 6 ของความคิดเห็น

หลับกลางวัน ตื่นกลางคืน สัญญาณอัลไซเมอร์

ตามปกติผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักต้องผจญปัญหาที่เกี่ยวกับการนอน เช่น นอนหลับยากและมักตื่น
บ่อยๆ กลางดึก สาเหตุก็เพราะสมองเสียการควบคุมด้านความจำความคิดอ่าน จนส่งผลต่อพฤติ
กรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับในคนปกติหากปรากฎอาการเช่นนี้ก็จงระวังให้ดี เพราะ
อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าโรคอัลไซเมอร์กำลังถามหาได้

อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจแสดงให้เห็นดังนี้

นอนหลับยาก ผู้ป่วยอัลไซเมอร์เป็นจำนวนมากมักตื่นขึ้นมากลางดึกหลายๆ ครั้ง และเมื่อตื่น
แล้วก็มักจะนอนไม่หลับอีก ง่วงเซื่องซึมในตอนกลางวัน และไม่หลับในตอนกลางคืนคล้าย
กับนาฬิกาชีวิตเปลี่ยนไป พอเริ่มสายก็จะเริ่มง่วง ยิ่งตกเย็นอาการยิ่งแย่ อาการเช่นนี้เรียกว่า
Sundowning บางครั้ง อาจถึงขึ้นหลับกลางวันตื่นกลางคืนเลยก็ได้

จริงๆ แล้วอาการเหล่านี้รักษาได้ทั้งแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา แต่ก็มีการวิจัยจาก National
Institutes of Health (NIH) ที่ระบุว่าการรักษาแบบไม่ใช้ยาได้ผลมากกว่า เพราะเป็นการฝึก
ให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมการนอนใหม่ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น

  • ฝึกให้ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ให้เป็นเวลา
  • เปิดหน้าต่างรับแสงแดดยามเช้า
  • ควรออกกำลังกายทุกวัน แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน 4 ชั่วโมง
  • งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และงดสูบบุหรี่
  • ดูแลไม่ให้เกิดอาการเจ็บปวดทุกชนิด
  • หากผู้ป่วยต้องกินยาประเภทที่มีผลไปลดเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส เช่น ยา tacrine,
    donepezil, rivastigmine หรือ galantamine ก็ควรเลี่ยงการทานยาเหล่านี้ก่อนนอน
  • ปรับอุณหภูมิในห้องนอนให้เหมาะสม
  • เปิดไฟสลัวๆ ในห้องนอน ห้องน้ำ และระเบียงเพื่อไม่ให้มืดจนเกินไป อย่าอยู่บนเตียง
    นานๆ เพราะเมื่อร่างกายชินกับเตียงก็จะทำให้หลับยากขึ้น
  • งดดูโทรทัศน์ก่อนนอน


ข้อมูลจากนิตยสาร MyLife โรงพยาบาลกรุงเทพ

วันพุธ 15 ตุลาคม 2008 at 7:30 am ใส่ความเห็น

ปวดหลังพบบ่อยทุกอาชีพ

ปวดหลังเป็นอาการที่พบบ่อยมาก รองจากปวดศีรษะ นอกจากชาวไร่ชาวนาที่ทำงานก้มๆ เงยๆ
อยู่เป็นประจำแล้ว ประชาชนทั่วไปไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรก็ปวดหลังได้ เพราะทุกคนต้อง
เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เป็นประจำ เช่น นอน นั่ง ยืน เดิน ยกของ ออกกำลังกาย การเคลื่อนไหว
เหล่านี้เราทำจนเป็นอัตโนมัติ ถ้าไม่มีปัญหาไม่เจ็บไม่ปวดเราก็คงไม่ใส่ใจอะไรมากนัก เคยทำ
อย่างไรก็ทำไป แต่เมื่อใดเกิดปวดขึ้นมาอย่างเช่น ปวดหลัง ปวดมากจนกลายเป็นปวดเรื้อรังก็
จะรู้สึกเดือดร้อนขึ้นมาแล้ว เพราะจะทำให้ทำงานไม่ได้หรือทำงานไม่ถนัด ถ้าปวดเรื้อรัง เทียวเข้า
เทียวออกโรงพยาบาลก็จะทำให้เสียเวลา เสียทรัพย์ หรืออาจจะตกงานได้ สาเหตุของอาการปวด
หลังมีหลายสาเหตุส่วนใหญ่ป้องกันได้ การป้องกันจึงเป็นเรื่องสำคัญดีกว่าจะปล่อยให้เจ็บป่วย
แล้วจึงมารักษา

  • สาเหตุ

สาเหตุที่พบบ่อยในทุกอาชีพคือ การที่ท่าทางที่ไม่ถูกสุขลักษณะ บิดเอี้ยวตัวโดยแรงรวดเร็ว ไม่่
ออกกำลังกายหรือทำน้อยไป ทำให้กล้ามเนื้อไม่มีความยึดหยุ่น นอกจากนั้นอาจเกิดจากความ
เสี่อมของกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด จากเนื้องอกของประ
สาทไขสันหลัง กระดูกไขสันหลังอักเสบ จากโรคอื่นๆ ทำให้ปวดหลัง เช่น โรคไต โรคของต่อม
ลูกหมาก หรือมดลูกหรือรังไข่ เป็นต้น ความเครียดทางร่างกาย จิตใจทำให้เกิดการเกร็งของ
กล้ามเนื้อหลังและคอ ที่นอนที่อ่อนนุ่มเกินไป ความอ้วน หรือเกิดจากการแพร่กระจายของโรค
มะเร็งก็ทำให้เกิดปวดหลังได้

  • การรักษา ที่ดีที่สุดหรือป้องกัน เช่น

1.ลดน้ำหนักตัว ควบคุมให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
2.เรียนรู้และปฎิบัติให้มีท่าทางที่ถูกต้อง เช่น นั่ง ยืน นอน ยกของ เป็นต้น
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

เมื่อมีอาการปวดหลังโดยทั่วไปมีการรักษาหลายวิธี แล้วแต่ความรุนแรงของอาการอาจจะเริ่ม
จากแนะนำให้พักผ่อน รับประทานยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือรักษาโดยกายภาพบำบัด
เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อให้ความร้อน ความเย็นหรือเครื่องยึดหลัง หรือกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วย
ไฟฟ้าเพื่อบรรเทาอาการปวด การอักเสบที่่หลัีง ถ้าไม่ดีขึ้นอาจต้องผ่าตัด
การรักษาในกลุ่มที่มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของกระดูกสันหลัง มีเป้าหมายเพื่อลดอาการ
ปวด และสามารถให้ผู้ป่วยกลับไปทำงานหรือดำรงชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว รวมทั้งป้องกันหรือ
ชะลอความเสื่อมของโครงสร้างกระดูกสันหลังไว้

ข้อมูลจากคอลัมม์รักสุภาพ หนังสือพิัมพ์ คม ชัด ลึก

วันจันทร์ 29 กันยายน 2008 at 7:00 am ใส่ความเห็น

อาการปวดเมื่อยขาและโรคของหลอดเลือด

ขาของเรายังมีหลอดเลือดดำเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยระบายเลือดที่ผ่านการใช้งานจาก
กล้ามเนื้อและกระดูก โดยเฉพาะเวลาที่เราเดินหรือออกกำลังกาย แต่บางครั้งการหมุนเวียนของ
เลือดที่ใช้แล้วก็ติดขัดหรือไม่สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเกิดในภาวะที่หลอดเลือดดำใหญ่
ของขาที่อยู่ใกล้ผิวหนังมีปัญหาเกิดขึ้น

ปัญหาที่ว่า อาจจะเป็นเพราะกลไกสำคัญของหลอดเลือดดำ คือลิ้นที่คอยควบคุมการไหลของ
เลือดให้เคลื่อนจากปลายเท้าหรือน่องให้กลับสู่หัวใจทำงานได้ไม่ดีพอ หรืออาจมีการเสื่อมจนไม่
ทำงาน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ก็คือ เลือดดำจะคั่งอยู่บริเวณเท้า บริเวณน่องเป็นจำนวนมาก และสะสม
มากในเวลาที่เราต้องยืนหรือเดินทั้งวัน

บางคนอาจมีอาการปวดเมื่อยขาหรือน่องในเวลาที่ต้องยืนนานๆ หรืออาจปวดเมื่อยในช่วงเย็นหรือ
กลางคืน อาการนี้อาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ในบางคนอาจมีความรู้สึกเท้าหรือน่อง
โตขึ้น บวมขึ้น หรือมีขนาดโตกว่าข้างที่ปกติ บางคนอาจมีอาการตะคริวบริเวณน่องได้บ่อยๆ คนไข้
ส่วนมากมักจะมีเส้นเลือดขอดที่ขาร่วมด้วย ซึ่งอาจจะมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนอาจ
มีแค่เส้นเลือดฝอยเล็กๆ บางคนอาจมีเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่จนเหมือนตัวหนอน

การจะบอกให้ได้ชัดเจนว่า อาการเหล่านี้เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดดำจริงๆ นั้น อาจจำ
เป็นต้องพบแพทย์เพื่อเล่าอาการให้แพทย์ฟังและให้แพทย์ตรวจร่างกาย ส่วนการตรวจพิเศษที่ดีที่
สุดในการวินิจฉัยโรคนี้ คือ การทำอัลตราซาวด์ของหลอดเลือดดำ ซึ่งจะบอกสาเหตุและความรุน
แรงได้อย่างชัดเจน

การรักษาสามารถทำได้หลายวิธีตั้งแต่การใช้ยา ใช้ถุงน่อง หรือการผ่าตัด หากมีเส้นเลือดขอดร่วม
ด้วย การรักษามักจะใช้วิธีการฉีดยาหรือฉีดโฟม (Foam injection) ร่วมด้วย ในบางรายอาจใช้วิธี
การรักษาผ่านหลอดเลือดด้วยเลเซอร์ (Endovenous laser) ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นวิธีใหม่ที่ได้ผลดี
กว่าวิธีดั้งเดิมมาก

อย่างไรก็ดี แม้เรามีอาการเหล่านี้อย่ารีบปักใจเชื่อว่าเป็นจากโรคหลอดเลือดดำ โดยเฉพาะถ้าเรา
มีความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน หรือความอ้วน อาจต้องให้แพทย์ตรวจดูอีกครั้งเพื่อ
ให้แน่ใจว่าไม่เป็นโรคอื่นๆ เช่นโรคหลอดเลือดแดง ซึ่งสาเหตุ การป้องกัน วิธีการดูแลและวิธีการ
รัีกษาจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ข้อมูลจากนิตยสาร MyLife โรงพยาบาลกรุงเทพ

วันศุกร์ 26 กันยายน 2008 at 7:58 am ใส่ความเห็น

Older Posts


 Feed  RSS

Bookmark and Share

Contact US

Surawinn Pati's Facebook profile

Recent Readers

View My Profile View My Profile View My Profile View My Profile View My Profile

Twitter

Dipity

Let’s Go

My Unkymood Punkymood (Unkymoods)


I got this Gogeta Bubs
from TheLordNick.com/Bubs

qrcode

Get your own free Blogoversary button!