การรักษาโรคเมลิออยโดสิส

วันศุกร์ 9 มกราคม 2009 at 9:42 am 1 ความเห็น

โรคเมลิออยโดสิส นับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยเนื่องจากพบมีอัตราป่วยตายสูง โดย เฉพาะ
ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตซึ่งมีอัตราป่วยตายประมาณร้อยละ 60 และมักพบอาการรุนแรงถึง
เสียชีวิตในคนที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ทั้งนี้มักมีการกลับซ้ำของโรคเมลิออย
โดสิสในกรณีให้การรักษาระยะสั้น และผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง

เมลิออยโดสิสเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียรูปแท่งแกรมลบ  Burkholderia  pseu-
domallei (B. pseudomallei) เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตและปอดอัก
เสบในประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย แม้
ว่าได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้อย่างกว้างขวางมานานกว่า 20 ปี แต่ผลการรักษาก็ยังไม่ดี
เท่าที่ควร อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ป่วยได้รับ
การรักษาล่าช้าหรือไม่ถูกต้อง อัตราการเสียชีวิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสูง
ถึงร้อยละา 50-60 ส่วนในประเทศออสเตรเลีย พบว่าอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 15-20

หลักการรักษา

  1. การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม ถือเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคเมลิออย
    โดสิส
  2. การรักษาตามอาการ
  3. การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
  4. พิจารณาเจาะดูดหรือผ่าตัดเพื่อระบายฝีหนอง รวมทั้งการตัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อและกลาย
    เป็นเนื้อตายออกไป

ยาปฏิชีวนะ

  1. ยาปฏิชีวนะถือเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อ
    แบคทีเรียที่รักษายากที่สุดโรคหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีอาการรุนแรง พบหลัก
    ฐานการติดเชื้อในกระแสเลือด ควรรับไว้ในโรงพยาบาล และเริ่มให้การรักษาด้วยยาปฏิ
    ชีวนะชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำก่อนเสมอ โดยทั่วไปจะให้ยาอย่างน้อย 10-14 วัน หรือ
    จนกว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 วัน จึงเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรับ
    ประทานต่อ จนครบระยะเวลาการรักษาอย่างน้อย 20-24 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการกลับ
    เป็นซ้ำ
  2. รูปแบบการรักษาผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสจึงอาจแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการ
    รักษาในระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง จากนั้นจึงเป็นการรักษาในระยะที่สอง ถือ
    เป็นการรักษาต่อเนื่องจากระยะแรก จุดหมายสำคัญเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
  3. สำหรับผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสที่อาการไม่รุนแรง สามารถเริ่มการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
    ชนิดรับประทานได้เลย

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

  • ระยะเฉียบพลัน
  • ระยะต่อเนื่อง

ยาปฏิชีวนะในระยะเฉียบพลัน

  • Ceftazidime
  • Amoxicillin-Clavulanic acid
  • Cefoperazone-Sulbactam
  • Imipenem
  • Meropenem

Ceftazidime

  1. ถือเป็นยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส ชื่อยา original คือ Fortum
    (GSK) ชื่อการค้าอื่นๆของยานี้ ได้แก่ Forzid, Fortaz, Cef-4 เป็นต้น
  2. ขนาดของยาที่ใช้ในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส 100-120 มก/กก/วัน หรือ 6 กรัม
    /วัน ในผู้ใหญ่
  3. อาจให้ยา co-trimoxazole ในขนาด 8 มก/กก/วัน ของ trimethoprim ร่วมด้วย
    โดยแบ่งให้ยาทั้งสองชนิดทางหลอดเลือดดำทุก 8 ชั่วโมง สามารถลดอัตราตายในผู้ป่วย
    เมลิออยโดสิสที่มีอาการรุนแรงลงได้ครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับการรักษาผู้ป่วยโดยใช้ยาสูตร co-trimoxazole + doxycycline + chloramphenicol
  4. จาก การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการใช้ยา ceftazidime เพียงชนิดเดียว
    และการใช้ยา ceftazidime ร่วมกับ co-trimoxazole ในการรักษาผู้ป่วยเมลิออยโดสิส
    ที่มีอาการรุนแรง พบว่าอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลไม่แตกต่างกัน
  5. ceftazidime เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม  third-generation   cephalosporin   ซึ่งครอบ
    คลุมเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกและชนิดแกรมลบ รวมทั้งเชื้อ เชื้อ B. pseudomallei
    ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเมลิออยโดสิส   ความแตกต่างจากยาอื่นในกลุ่มเดียวกันตรงที่ยานี้
    สามารถใช้ฆ่าเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ได้ ซึ่งเชื้อดังกล่าวเป็นแบคทีเรียก่อโรค
    ที่รุนแรงและมีปัญหาในการรักษาค่อน  ข้างมาก  แต่ข้อจำกัดของยา  ceftazidime อยู่ที่
    ฤทธิ์ต่อเชื้อแกรมบวกค่อนข้างอ่อนกว่ายาชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกัน

Amoxicillin-Clavulanic acid (co-amoxiclav)

  1. ควรพิจารณาใช้เป็นยาตัวเลือกในการรักษาผู้ป่วย เนื่องจากต้องใช้ยาในขนาดที่สูงกว่า
    ขนาดยาที่ใช้ตามปกติ และต้องบริหารยาบ่อย
  2. ผู้ ป่วยร้อยละ 20 ที่ได้รับการรักษาด้วยยา co-amoxiclav จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยา
    ceftazidime ในการรักษาแทน เนื่องจากการตอบสนองต่อยา co-amoxiclav ไม่ดีหลัง
    จากให้การรักษาไปแล้วนานกว่า 72 ชั่วโมง
  3. พบการดื้อยาของเชื้อ B. pseudomallei เกิดขึ้นระหว่างการรักษาในช่วง 8-10 วันแรก
    ถึงร้อยละ 7
  4. ขนาด ยาที่ใช้ในการรักษา 160 มก/กก/วัน ในผู้ใหญ่ให้ยาในขนาด 2.4 กรัม ฉีดเข้าทาง
    หลอดเลือดดำในครั้งแรก   และตามด้วยขนาด  1.2 กรัม   ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
    ทุก 4 ชั่วโมง
  5. อัตรา เสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสที่ได้รับการรักษาด้วยยา co-
    amoxiclav ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา ceftazidime

Cefoperazone-Sulbactam

  1. ขนาดยาที่ใช้ในการรักษา   โรคเมลิออยโดสิส  cefoperazone  25 มก/กก/วัน  หรือ
    3 กรัม/วันในผู้ใหญ่ อัตราส่วนของยา cefoperazone-sulbactam ที่ใช้คือ 1:1 โดยให้
    ร่วมกับยา co-trimoxazole ในขนาด 8 มก/กก/วัน ของยา trimethoprim โดยแบ่ง
    ให้ยาทั้งสองชนิดทางหลอดเลือดดำทุก 8 ชั่วโมง
  2. จาก การศึกษาพบว่าประสิทธิภาพในการรักษาด้วยยา cefoperazone-sulbactam ร่วม
    กับยา   co-trimoxazole   ไม่แตกต่างจากการใช้ยา    ceftazidime  ร่วมกับยา co-
    trimoxazole
  3. ไม่ควรใช้สูตรยานี้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสที่มีการติดเชื้อในระบบประสาท
    เนื่องจากยา cefoperazone ผ่านเข้าน้ำไขสันหลังได้ไม่ดี และต้องระวังภาวะเลือดออก
    ผิดปกติ   ดังที่เคยมีรายงานว่าผู้ป่วยบางรายเกิดความผิดปกติของกลไกการแข็งตัวของ
    เลือดซึ่งสามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยการให้วิตามินเค

lmipenem

  1. ชื่อการค้า Tienam ขนาดยาที่ใช้ในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส 50 มก/กก/วัน หรือ 3
    กรัม/วันในผู้ใหญ่ โดยแบ่งให้ยาทางหลอดเลือดดำทุก 8 ชั่วโมง
  2. จาก การศึกษาวิจัยพบว่า อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา imipenem
    ไม่แตกต่างจากการรักษาด้วยยา ceftazidime แต่พบอัตราการรักษาล้มเหลวมากกว่าใน
    ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา ceftazidime
  3. ปัญหา สำคัญคือยานี้มีราคาแพง จึงควรพิจารณาใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
    ด้วยยา ceftazidime หรือมีข้อห้ามในการใช้ยา ceftazidime

Meropenem

  1. ชื่อการค้า Meronem ขนาดยาที่ใช้ในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส 75 มก/กก/วัน หรือ
    3 กรัม/วันในผู้ใหญ่ โดยแบ่งให้ยาทางหลอดเลือดดำทุก 8 ชั่วโมง
  2. จาก การศึกษาพบว่า อัตราเสียชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยเมลิออยโดสิสที่มีอาการรุนแรงเมื่อ
    ได้รับการ รักษาด้วยยา meropenem ร่วมกับยา co-trimoxazole ไม่แตกต่างจากการ
    รักษาด้วยยา ceftazidime ร่วมกับ co-trimoxazole แต่ในผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสที่มี
    ภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด เมื่อได้รับการรักษาด้วยยา meropenem ร่วมกับยา
    co-trimoxazole   จะมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา   cefta-
    zidime ร่วมกับยา co-trimoxazole

ยาปฏิชีวนะในระยะต่อเนื่อง

  • Cotrimoxazole + Doxycycline
  • Coamoxiclav
  • Ciprofloxacin + Azithromycin

Cotrimoxazole + Doxycycline
ขนาดของยา co-trimoxazole ที่ใช้ในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส 8-10 มก/กก/วัน ของยา
trimethoprim ร่วมกับยา doxycycline ในขนาด 4 มก/กก/วัน สูตรยานี้จัดเป็นสูตรยามาตร
ฐานในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส เนื่องจากอัตราการกลับเป็นซ้ำต่ำสุดเมื่อเทียบกับสูตรยาอื่นๆ
นอกจากนี้ยังพบว่าในผู้ป่วยที่ได้รับยานาน 20 สัปดาห์ จะมีอัตรากลับเป็นซ้ำเพียงร้อยละ 4

Coamoxiclav

  1. ขนาดของยาที่ใช้ในการ   รักษาโรคเมลิออยโดสิส   amoxicillin  60 มก/กก/วัน และ
    clavulanic acid 15 มก/กก/วัน เพื่อให้ได้สัดส่วนของยา amoxicillin ต่อ claulanic
    acid เป็น 4:1 โดยแบ่งให้ยาวันละ 4 ครั้ง
  2. ยา สูตรนี้ควรใช้เป็นยาทางเลือกในหญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร เด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปี และ
    ผู้ที่แพ้ยากลุ่ม sulphonamides เนื่องจากอัตราการกลับเป็นซ้ำสูงกว่าการรักษาด้วยยา co-trimoxazole ร่วมกับ doxycycline
  3. ใน ผู้ป่วยที่ได้รับยา co-amoxiclav น้อยกว่า 12 สัปดาห์ มีอัตราการกลับเป็นซ้ำร้อยละ
    36 ถ้าได้รับยานานกว่า 12 สัปดาห์ จะมีโอกาสเกิดการกลับเป็นซ้ำลดลงเหลือร้อยละ 10

Ciprofloxacin + Azithromycin

  1. ขนาดของยาที่ใช้ในการ รักษาโรคเมลิออยโดสิส ciprofloxacin 500 มก. รับประทาน
    วันละ 2 ครั้ง ร่วมกับยา azithromycin ขนาด 500 มก. รับประทานวันละ 1 ครั้ง
  2. จาก การศึกษาพบว่าเมื่อให้การรักษาโรคเมลิออยโดสิสด้วยยาสูตรนี้ นาน 12 สัปดาห์ จะ
    พบอัตราการกลับเป็นซ้ำถึงร้อยละ  22  ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับการใช้ยา  co-trimoxa-
    zole ร่วมกับ doxycycline
  3. นอกจากนี้ยายังมีราคาแพงมาก จึงควรพิจารณาใช้ยาสูตรนี้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้
    ยา 2 สูตรแรก

ผลการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

การรักษาโรคเมลิออยโดสิสด้วยยาปฏิชีวนะให้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ ทั้งๆ ที่เชื้อไวต่อยาในหลอด
ทดลอง การทดสอบความไวของเชื้อต่อยาในหลอดทดลองไม่ว่าจะเป็นการทดสอบด้วยวิธีเชิง
ปริมาณหรือเชิงคุณภาพ ไม่สอดคล้องกับผลการรักษาเสมอไป ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่มีผลต่อการ
รักษา เช่น จำนวนของเชื้อรอยโรค B. pseudomallei การที่ยาออกฤทธิ์เป็นเพียงยับยั้งการเจริญ
เติบโตของเชื้อ B. pseudomallei แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อให้ตาย เป็นต้น

นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสชนิดติดเชื้อในกระแสเลือด มีอัตราเสียชีวิตสูงมากนั้น
เกิดจากปัจจัยพยากรณ์โรคหลายอย่าง   จากการวิเคราะห์พบว่าภาวะหลายอย่างเป็นปัจจัยพยา-
กรณ์โรค  และปัจจัยเหล่านี้บางอย่างสามารถป้องกันได้   และจะทำให้การรักษาโรคได้ผลดีขึ้น
อัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยลดต่ำลง การแก้ปัญหาเรื่องโรคเมลิออยโดสิสนั้น ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับ
แล้วว่าการรักษาโรคไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด จำเป็นต้องพิจารณาถึงวิธีอื่นๆ ในการแก้ปัญหาด้วย เช่น การ
ศึกษาถึงลักษณะของเชื้อ ตลอดจนสารชีวภาพที่เชื้อปล่อยออกมา กลไกการก่อโรค การป้องกัน
โรค รวมทั้งการลดอุบัติการณ์และความชุกของโรคด้วยวิธีต่างๆ เป็นต้น

การเจาะดูดหรือผ่าตัดเพื่อระบายฝีหนอง

ในรายที่มีฝีจะต้องมีการผ่าตัดเอาฝีออก   ซึ่งจะให้ผลดีกว่าการใช้เข็มเจาะ   หรือดูดเอาแต่หนอง
ออก การทำผ่าตัดควรทำเมื่อตรวจไม่พบเชื้อในกระแสโลหิตแล้ว

ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

Entry filed under: Health. Tags: , , , , , .

คิดเสร็จหนึ่งงาน ยังเหลือหนึ่งไซด์ Sweet Child O’ Mine – Guns N’ Roses

1 ความเห็น Add your own

  • 1. Dong  |  วันศุกร์ 9 มกราคม 2009 เวลา 9:23 pm

    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล

    ตอบกลับ

ใส่ความเห็น

Trackback this post  |  Subscribe to the comments via RSS Feed


 Feed  RSS

Bookmark and Share

Contact US

Surawinn Pati's Facebook profile

Recent Readers

View My Profile View My Profile View My Profile View My Profile View My Profile

Twitter

Dipity

Let’s Go

My Unkymood Punkymood (Unkymoods)


I got this Gogeta Bubs
from TheLordNick.com/Bubs

qrcode

Get your own free Blogoversary button!