โรคปวดประสาทหน้า

วันพุธ 5 พฤศจิกายน 2008 at 8:00 am ใส่ความเห็น

อะไร คือ โรคปวดประสาทหน้า
คือ อาการปวดที่ใบหน้า หรือ กระหม่อม ตามแนว ของเส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า ซึ่งทำหน้าที่รับ
ความรู้สึกสัมผัส, อุณหภูมิ และความรู้สึกเจ็บปวด ส่งไปยังก้านสมอง และสมองใหญ่ตามลำดับ
อาการปวดจะมีลักษณะพิเศษ คือ ปวดเสียวแปล๊บๆ คล้ายถูกไฟช็อตเป็นพักๆ และมักจะปวดมาก
ขึ้น เวลาเคี้ยว พูด หรือสัมผัสเบาๆ เช่น การล้างหน้า

เส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า มีแขนงย่อย 3 เส้น ได้แก่

  • แขนงที่หนึ่ง เลี้ยงบริเวณตา หน้าผาก และกระหม่อม (Opthalmic branch- V1)
  • แขนงที่สอง เลี้ยงบริเวณแก้ม และขากรรไกรส่วนบน (Maxillary branch-V2)
  • แขนงที่สาม เลี้ยงที่ขากรรไกรล่าง (Mandibular branch-V3)

มักพบอาการปวดได้บ่อยจากแขนงที่สอง คือ ปวดแปล๊บๆ ตามโหนกแก้ม ขากรรไกรบน รวมถึง
เสียวเหงือกและฟัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะถูกวินิจฉัยครั้งแรก จากทันตแพทย์ !!

ทำไมถึงปวด สาเหตุเกิดจากอะไร
การศึกษาปัจจุบันพบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการกดทับของหลอดเลือดเล็กๆ ซึ่งมีการหย่อนยาน
ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ใกล้กับทางออกของ เส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า ทำให้เส้นประสาทเกิดการนำ
กระแสประสาทที่มากขึ้น
คล้ายกับไฟฟ้าลัดวงจรนั่นเอง ทำให้โรคปวดประสาทหน้า (trigeminal neuralgia) พบได้บ่อย
ในผู้สูงอายุ ถ้าพบในอายุน้อย หรือมีอาการทางระบบประสาทอื่นร่วมด้วย เช่น หน้าชา ปากเบี้ยว
หูไม่ได้ยิน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหาสาเหตุเพิ่มเติมโดยการเอกซ์เรย์สมอง เช่น ปลอกประสาท
เสื่อม (Multiple sclerosis), เนื้องอก เป็นต้น
ทำไมบางครั้งก็หายเองได้ บางครั้งก็ปวดขึ้นมาใหม่
ลักษณะของการดำเนินโรคจะเป็นอย่างที่กล่าวมา คือ ปวดติดต่อกันเป็นเดือนหรือปีได้ แล้วไม่มี
อาการเป็นปี จากนั้นเริ่มปวดใหม่ หรือ ปวดต่อเนื่องกันไปตลอด ปัจจัยที่กระตุ้นให้ปวดมากขึ้น
ได้แก่ การอดนอน ความเครียด เป็นต้น

การรักษาต้องทำอย่างไร
มีแนวทางหลักในการรักษาได้แก่
1. การรักษาทางยา : ยาส่วนใหญ่จะเป็นยาในกลุ่มยากันชัก เช่น

  • Carbamazepine (Tregretal), Trileptal (Oxycarbazepine), Phenytoin
    (Dilantin), Baclophen (Lioresal)และ Gabapentin(Neurontin)
  • ยาออกฤทธิ์โดยการลดกระแสไฟฟ้าที่ผิดปรกติดังกล่าว
  • ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ มีง่วงซึม เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน และเกลือแร่ผิดปรกติ

2. การรักษาโดยการผ่าตัด

  • Stereotactic Radiosurgery (Gamma Knife)
  • มีการวางกรอบที่ศีรษะผู้ป่วย โดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วยให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น
    จากนั้นใช้รังสียิงไปในจุดที่กำหนดไว้
  • ข้อดี คือ ไม่ต้องผ่าตัด ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้น เพียง 1-2 วัน
  • ข้อเสีย คือ อาการปวดประสาทหน้าใช้เวลานานเป็นเดือน กว่าจะเห็นผลของการฉายรังสี
  • Microvascular Decompression Surgery
  • ทำโดยประสาทศัลยแพทย์ จุดประสงค์ คือ การแก้ไขให้เส้นประสาทไม่ถูกกดทับจาก
    หลอดเลือด โดยผ่าตัดเข้าทางบริเวณหลังใบหู แล้วเลาะไปถึงจุดที่เส้นประสาทออกจาก
    ก้านสมอง(root entry zone) เพื่อยกหลอดเลือด หรือ เลาะเอาพังผืดใกล้เคียงออก
  • ข้อดี คือ อาการปวดจะดีขึ้นโดยทันทีหลังผ่าตัด 90-95% สามารถหยุดยาแก้ปวดได้
  • ข้อเสีย คือ เสี่ยงกับการดมยาสลบ การผ่าตัด และการบาดเจ็บของเส้นประสาท เช่น
    หน้าชา หน้าเบี้ยว หรือ หูได้ยินลดลง

ข้อมูลจากบทความสุขภาพ วารสารเก้าทันโรค โรงพยาบาลพระรามเก้า

Entry filed under: Health. Tags: , , , , , , .

Re-Education (Through Labor) – Rise Against The Gimp เจ้าตูบระบายศิลป์

ใส่ความเห็น

Trackback this post  |  Subscribe to the comments via RSS Feed


 Feed  RSS

Bookmark and Share

Contact US

Surawinn Pati's Facebook profile

Recent Readers

View My Profile View My Profile View My Profile View My Profile View My Profile

Twitter

Dipity

Let’s Go

My Unkymood Punkymood (Unkymoods)


I got this Gogeta Bubs
from TheLordNick.com/Bubs

qrcode

Get your own free Blogoversary button!