โรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล

วันศุกร์ 5 ธันวาคม 2008 at 9:09 am ใส่ความเห็น

โรค กระเพาะอาหารมีได้หลายโรคเช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร  และโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล เป็นต้น อาการของโรคกระ
เพาะอาหารหรือภาษาอังกฤษเรียกว่าดีสเป็ปเซีย (Dyspepsia) หมายถึงความรู้สึกไม่สบายที่
เกิดขึ้นบริเวณช่องท้องส่วนบน (ระหว่างใต้ลิ้นปี่และสะดือ)  เช่นปวดท้อง, ท้องอืดแน่นท้องหลัง
รับประทานอาหาร, คลื่นไส้, มีลมโครกคราก, อิ่มเร็ว หรือจุกเสียดยอดอก    ผู้ป่วยดีสเป็บเซียเมื่อ
ได้รับการสืบค้นโดยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร  พบว่าส่วนน้อยที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น
โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น, โรคหลอดอาหารอักเสบ หรือโรคมะเร็งกระ
เพาะอาหาร  อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยอีกส่วนใหญ่ประมาณ 60-90% จะไม่สามารถบอกสาเหตุที่
ชัดเจนได้  กล่าวคือพบว่ากระเพาะอาหารปกติหรือมีอักเสบเล็กน้อย ไม่มีแผล ไม่มีมะเร็ง เรียก
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล (Functional dyspepsia)

ใน ประเทศไทยความชุกของโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล ไม่แตกต่างจากข้อมูลในต่าง
ประเทศ   จากการศึกษาของผู้เขียนโดยสำรวจในผู้ป่วยดีสเป็ปเซีย 1,100 คนพบว่าเป็น โรค
กระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผลสูงถึง 90.69% และในผู้ป่วยกลุ่มนี้ 49.72% ตรวจพบเชื้อแบค
ทีเรียชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์  ไพโลไร  (Helicobacter pylori ) ร่วมด้วย

สาเหตุ

โรค กระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่มีสาเหตุหลัก 2 ประการคือ 1)
ความไวของประสาทการรับรู้ความรู้สึกของกระเพาะอาหารและลำไส้มากผิดปกติ  โดยเฉพาะ
ต่อกรดหรืออาหารมัน ทำให้เกิดอาการแน่นหรือปวดท้อง  2) กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อน
ไหวผิดปกติ เช่นการขยายตัวของกระเพาะอาหารลดลง หรือมีการเคลื่อนไหวของกระเพาะ
อาหารและลำไส้ลดลง  มีการศึกษาพบว่ามีการหลั่งสารซึ่งเป็นสื่อนำของระบบประสาทที่อยู่
ในผนัง กระเพาะอาหารและลำไส้ผิดปกติเช่นโดปามีน (dopamine) หรือ อะเซ็ทติลโฆลีน
(acethylcholine) นำไปสู่การเคลื่อนไหวหรือการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ผิด
ปกติ รวมทั้งทำให้ความไวของประสาทการรับรู้ความรู้สึกของกระเพาะอาหารและลำไส้มาก
ผิดปกติด้วย  ปัจจัยอื่นที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น พันธุกรรม ปัจจัยทางจิตใจและความเครียด  หรือ
อาจเกิดตามหลังการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์  ไพโลไร  หรือการติดเชื้ออื่นๆในระบบทางเดิน
อาหาร  อย่างไรก็ตามสาเหตุบางอย่างอาจทำให้เกิดอาการเฉพาะในผู้ป่วยบางราย   ขณะที่
ผู้ป่วยรายอื่น ๆ อาจไม่ทำให้เกิดอาการก็เป็นได้

อาการสำคัญของโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล

โดย ทั่วไปอาการของโรคกระเพาะชนิดไม่มีแผล  ไม่สามารถแยกได้จากอาการของโรคแผลใน
กระเพาะอาหาร อาหารที่สำคัญได้แก่ ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือหน้าท้องช่วงบน
เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว อาการจะไม่เป็นตลอดทั้งวัน, อาการ
ปวดหรือแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด ผู้ป่วยบางคนอาการปวดจะเป็นมาก
ขึ้นหลังอาหารโดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น, อาการปวดหรือแน่นท้อง มักเป็นๆ
หายๆ มานานเป็นปี, บางรายจะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้องหรือรู้สึกไม่สบายใน
ท้อง มักจะเป็นบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือกลางท้องรอบสะดือ มักมีท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังกิน
อาหารท้องจะอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโครกคราก ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น อาจ
มีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยโดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อหรือช่วงเช้ามืด ผู้ป่วยอาจมีอาการอิ่ม
ง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อยลงและน้ำหนักลดลงบ้างเล็กน้อย, โรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มี
แผลนี้จะแบ่งตามลักษณะอาการได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาการคล้ายโรคแผลในกระเพาะ
อาหาร จะมีอาการปวดท้องเป็นอาการเด่นและกลุ่มอาการที่คล้ายโรคกระเพาะอาหารและลำ
ไส้เคลื่อนไหวผิดปกติ จะมีอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือมีลมโครกครากเป็นอาการเด่น  แม้จะมี
อาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม ไม่มีน้ำหนักลด ไม่ซีดลง

การรักษา

เนื่อง จากมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล ในปัจจุบันจึงยังไม่มี
ยาที่เฉพาะในการรักษาภาวะนี้   อย่างไรก็ตาม  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับการรักษาด้วยยาลดกรด
ถึงแม้ปริมาณการสร้างกรดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้น   แต่ร่างกายอาจมีความไวต่อกรดมาก
กว่าในคนทั่วไป การให้ยาลดกรดจึงอาจได้ผลดีในการรักษา  เร็วๆนี้มียาตัวใหม่ที่ออกฤทธิ์โดย
ตรงเกี่ยวกับการหลั่งสารซึ่งเป็นสื่อนำ ของระบบประสาทที่อยู่ในผนังกระเพาะอาหารและลำไส้
เช่นโดปามีน (dopamine) หรือ อะเซ็ทติลโฆลีน (acethylcholine) โดยช่วยปรับหรือเพิ่มการ
เคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารเพื่อช่วยให้ไม่มี อาหารและน้ำย่อยค้างอยู่ในทางเดินอาหาร
ส่วนต้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือมีลมโครก
ครากเป็นอาการเด่น เนื่องจากอาการของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล มักเป็นๆหายๆ
การรักษาโดยทั่วไปควรให้ยาผู้ป่วยนาน 1-3 เดือนจึงจะบอกได้ว่าอาการดีขึ้นจริง ผู้ป่วยบางราย
อาจต้องให้ยาติดต่อกันนานหลายเดือนหรือเป็นปี ในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาดัง
กล่าวอาจพิจารณาใช้ยากำจัดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์  ไพโลไร ซึ่งผู้ป่วยบางคนจะมีอาการดีขึ้น
(ได้ผล 1 ใน 14 ราย) หรือใช้ยาในกลุ่มลดการอักเสบของเยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร (mucosal
protectants) หรือยาคลายเครียดร่วมด้วย   ตลอดจนการปรับวิธีการรับประทานอาหารและแนว
ทางการดำเนินชีวิตเพื่อทำให้ผู้ ป่วยมีอาการดีขึ้น

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว

กิน อาหารอ่อน ย่อยง่าย, กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่บ่อย และไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ,
หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง น้ำอัดลม และเครื่องดื่มไม่ควรร้อนจัดหรือเย็นจัดเกิน
ไป, งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา, งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาแก้ปวดข้อหรือกล้ามเนื้ออัก
เสบทุกชนิด, ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ, ถ้ามีอาการของภาวะ
แทรกซ้อน ปวดท้องรุนแรง เบื่ออาหารหรือน้ำหนักลดลงมาก ควรรีบไปพบแพทย์

ผู้ ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้างและควร
รับประทานอาหารวันละกี่มื้อแต่ละมื้อ ควรจะมีปริมาณมากน้อยเท่าใด

อาหาร ที่ควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารรสเผ็ดจัด, เปรี้ยวจัด, ของหมักดอง, อาหารแข็งย่อยยาก,
อาหารประเภทที่ต้องทอด หรืออาหารที่มีไขมันมาก เพราะไขมันเป็นสารที่ย่อยยากกว่าสารอา
หารชนิดอื่นรวมทั้งอาหารหรือผลไม้ที่ กินแล้วทำให้มีอาการมากขึ้น เช่นบางคนกินฝรั่งหรือสับ
ปะรดจะปวดท้องมากขึ้น เป็นต้น ควรรับประทานอาหารอ่อน   อาหารที่ย่อยง่าย  เมื่อผู้ป่วยมีอา
การดีขึ้นแล้วจึงค่อยๆ   กลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติได้

โดย ทั่วไปควรรับประทานวันละ 6 มื้อ โดยแบ่งปริมาณมาจากมื้ออาหารปกติครึ่งหนึ่ง คือมื้อเช้า
แบ่งเป็นเช้าและสาย, มื้อกลางวันแบ่งเป็นกลางวันและบ่าย และมื้อเย็นแบ่งเป็นเย็นและค่ำ รวม
เป็น 6 มื้อ จะเห็นได้ว่าแต่ละมื้อจะมีปริมาณอาหารน้อยลงแต่รับประทานให้บ่อยขึ้น ห้ามรับประ
ทานจนอิ่มหรือปริมาณมากเกินไปจะทำให้กระเพาะอาหารขยายตัวมากจะ ยิ่งกระตุ้นให้ปวดมาก
ขึ้น ไม่ควรรับประทานอาหารผิดเวลาหรือเว้นท้องว่างนานจนเกินไปจะทำให้ปวดท้องมาก ขึ้น
เช่นกัน

โรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล จะกลายเป็นมะเร็งได้หรือไม่

โรค กระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผลจะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็นๆหายๆอยู่นานกี่ปีก็ตาม เนื่อง
จากพยาธิกำเนิดของโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารและโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่ มีแผลจะ
แตกต่างกัน ถ้าเป็นโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารจะเริ่มด้วยมะเร็งตั้งแต่เริ่มแรก แต่พึงระวังไว้
ด้วยว่าโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอาจมาเกิดร่วมกับโรคกระเพาะ อาหารชนิดไม่มีแผลก็ได้ โดย
เฉพาะในคนสูงอายุ (อายุมากกว่า 45-50 ปี จะมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากขึ้น) เนื่องจากอาการ
เริ่มแรกของโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและโรคกระเพาะอาหารชนิด ไม่มีแผลจะคล้ายกันมาก
ไม่สามารถแยกจากกันได้โดยการซักประวัติหรือตรวจร่างกาย จึงจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้อง
ตรวจกระเพาะอาหารเพื่อช่วยในการวินิจฉัย สำหรับอาการที่ส่อหรือบ่งชี้ว่าอาจมีโรคมะเร็งกระ
เพาะอาหารได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ซีดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ่ายอุจจาระดำหรืออา
เจียนเป็นเลือด อาเจียนมากและเป็นติดต่อกันเป็นวัน ในคนสูงอายุหรืออายุมากกว่า 45-50 ปีที่
เริ่มมีอาการครั้งแรกหรือผู้ที่มีอาการมานานแล้วมีการเปลี่ยนแปลงของ อาการเช่นปวดท้องรุน
แรงขึ้น ในภาวะต่างๆเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์

โรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผลจะหายขาดหรือไม่

โรค กระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผลเป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆหายๆแต่จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนเช่นมีเลือด
ออก ไม่กลายเป็นมะเร็ง และมีการพยากรณ์โรคดี ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้ป่วยโรคกระ
เพาะอาหารชนิดไม่มีแผล 86% ยังคงมีอาการต่อเนื่อง 12-20 เดือนแม้ได้รับการรักษาที่เหมาะ
สม    เช่นเดียวกับการศึกษาในประเทศอังกฤษซึ่งพบว่า ผู้ป่วย 74% ยังคงมีอาการหลังให้การรัก
ษา 2 ปี   อีกทั้งยังพบว่าผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผลมีแนวโน้มคุณภาพชีวิตที่ ต่ำลง
ผู้ป่วยบางรายอาจต้องกินยาติดต่อกันนานเป็นปีเพื่อควบคุมไม่ให้มีอาการ สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยควร
ปฏิบัติไปตลอดคือการปรับวิธีการรับประทานอาหารและแนว ทางการดำเนินชีวิตเพื่อช่วยให้อา
การดีขึ้น   แม้ไม่หายขาดแต่จะช่วยลดความทุกข์ทรมาน  และมีโอกาสกลับเป็นซ้ำลดลงได้
อย่าง มาก

ข้อมูลจากบทความหมอสุรพงศ์ โรงพยาบาลพยาไท

Entry filed under: Health. Tags: , , , , , , , .

Rock N Roll Train – AC/DC Rock You Like A Hurricane – Scorpions

ใส่ความเห็น

Trackback this post  |  Subscribe to the comments via RSS Feed


 Feed  RSS

Bookmark and Share

Contact US

Surawinn Pati's Facebook profile

Recent Readers

View My Profile View My Profile View My Profile View My Profile View My Profile

Twitter

Dipity

Let’s Go

My Unkymood Punkymood (Unkymoods)


I got this Gogeta Bubs
from TheLordNick.com/Bubs

qrcode

Get your own free Blogoversary button!